วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ว.เทคนิคอุบลฯ จัดเซปักตะกร้อชาวแว่นคัพครั้งที่ 1 แข่ง 8-11 ก.ย.นี้


 วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จัดแข่งขันเซปักตะกร้อวิทยาลัยเทคนิคชาวแว่นคัพ ครั้งที่ 1 รับสมัคร บัดนี้ถึงวันที่ 6 กันยายน ส่วนการแข่งขันเริ่ม วันที่ 8 ถึง 11 กันยายน 2555

               นายลิขิต พลเหลา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี กล่าวว่า วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จัดการแข่งขันเซปักตะกร้อ รายการ วิทยาลัยเทคนิคชาวแว่นคัพ ครั้งที่ 1 แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 ประเภท คือ ประชาชนจำกัดฝีมือ ประชาชนหญิงทั่วไป และประชาชนชายอาวุโส รับสมัครทีมเซปักตะกร้อเข้าร่วมแข่งขันตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 6 กันยายน 2555 ที่หมวดวิชาพลนามัยวิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี หรือที่อาจารย์สัญชัย สุขเกษม โทรศัพท์หมายเลข 087-7202560 โดยจะทำการแข่งขันระหว่างวันที่ 8 ถึงวันที่ 11 กันยายน 2555 ที่อาคารอเนกประสงค์วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี

ฟุตบอลนาส่วงคัพ 2010 ครั้งที่ 22 ได้ฤกษ์แข่งขัน 6 ตุลาคม นี้


 เทศบาลตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม รับสมัครทีมฟุตบอลเข้าแข่งขันในรายการ นาส่วงคัพ 2010 ครั้งที่ 22 ได้ฤกษ์ เปิดการแข่งขัน 6 ตุลาคม นี้

               นายศักดา สารีบุตร รองนายกเทศมนตรี ตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยถึงการจัดแข่งขันฟุตบอลต้านยาเสพติด นาส่วงคัพ 2012 ครั้งที่ 22 ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ประจำปี 2555 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน ได้ออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และห่างไกลยาเสพติด
แบ่งการแข่งขันออกเป็น 5 ประเภท คือ ประถมศึกษา อายุไม่เกิน 12 ปี ชาย มัธยมศึกษาตอนต้น อายุไม่เกิน 15 ปี ชาย ประชาชนหมู่บ้าน ชาย ประชาชนหมู่บ้านหญิง ประชาชนทั่วไปชาย และประเภทสูงอายุหมู่บ้าน อายุ 35 ปีขึ้นไป ผู้สนใจส่งทีมฟุตบอลสมัครเข้าร่วมแข่งขันได้ที่ สำนักงานเทศบาลตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน ถึงวันที่ 21 กันยายน 2555 โทรศัพท์หมายเลข 045-421199 และจะทำการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป ที่สนามกีฬาเทศบาลตำบลนาส่วงและสนามวัชรินทร์ โรงเรียนนาส่วงวิทยา

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ พระสังฆราช 3 ครั้ง



วารสารข่าวหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
ฉบับเดือนสิงคม 2555
               สมเด็จพระมาหาวีรวงศ์
 (พิมพ์ ธมฺมธโร) นามเดิม พิมพ์ นามสกุล แสนทวีสุข เกิดวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2440 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา จุลศักราช 1259 ที่บ้านสว่าง อำเภอวารินชำราบ (ปัจจุบันอำเภอสว่างวีรวงศ์) จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายทอง มารดาชื่อ นางนวล นามสกุล แสนทวีสุข
               ด้านการศึกษา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้รีบการศึกษาเบื้องต้น โดยการเรียนอักษรสมัย คือเรียนอักษรไทย ที่โรงเรียนวัดบ้านม่วง ตำบลตาลสุม อำเภอพิบูลมังสาหาร (วัดบ้านม่วงโคน อำเภอตาลสุม) เป็นเวลา 2 ปี ได้ย้ายเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนอุบลวิทยาคมวัดสุปัฏนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จชั้นมูล ข. (เทียบชั้น ม.2 ในปัจจุบัน) ขณะอายุ 14 ปี และเมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้เรียนพระปริยัติธรรม จนสำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี สูงสุดถึงเปรียญธรรม 6 ประโยด สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
               บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2457 อายุ 17 ปี ที่วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นบรรพชาจารย์
               อุปสมบท วันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2460 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ณ อุทกุกเขปสีมา (อุโบสถน้ำ) ในล้ำแม่น้ำมูล ที่บ้านโพธิ์ตาก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก(เสน ชิตเสโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีฉายาว่า ธมฺมธโร
               เมื่อปี พ.ศ. 2514 ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งที่ 1) ปี พ.ศ. 2515 ประธานกรรมการคณะธรรมยุต ปี พ.ศ. 2516 เจ้าคณะภาค 9 (ธ) และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งที่ 3)
               ด้านการเผยแผ่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้รับยกย่องจากพุทธบริษัทและบรรดาศิษยานุศิษย์ว่าเป็น พระคณาจารย์เอกในทางเทศนา เอาใจใส่เทศนาสั่งสอนศีลธรรมจรรยาแก่ประชาชน จัดการอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนและให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ โดยพระราชนิยม เป็นกรรมการจัดรายการกระจายเสียงในวันธรรมสวนะ กรมประชาสัมพันธ์จัดให้อุบาสกอุบาสิกา มีประเพณี อุโบสถสามัคคี อบรมให้เกิดศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนา และให้ประพฤติปฏิบัติชอบตามวัตถุประสงค์แห่ง พระศาสนา
               นอกจากนี้ ก็ได้เรียบเรียงหนังสือเกี่ยวกับหลักวิชาการและศีลธรรม เช่น สากลศาสนา ปัณณกเทศนาวิธี มงคลยอดชีวิต โลกานุศาสนี บทสร้างนิสัย และเรื่องอื่นๆ อีกมาก พิมพ์แจกจ่ายและอ่านวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ประชาชนได้อ่านและฟัง ถือปฏิบัติอบรมตนให้เป็นพลเมืองดี และเอาภารธุระในการเผยแพร่ และที่เป็นหนังสือเรื่องต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2517 มีจำนวน 40 เล่ม คือ
1. เจ้าหนี้ของเรา
2.. ลักษณะคนสงบ
3. ศาสนาสากล
4. สมบัติของหัวหน้า
5. บทภาวนา
6. อักษรสาร
7. กั้นร่มพรหม
8. คุณสมบัติของครู
9. ดอกหญ้าทิพย์
10. บทชวนสำนึก
11. โปรดช่วยเตือนข้าพเจ้าด้วย
12. ลิขิตถึงน้อง
13. สุขปฏิปทา
14. เทวาสุรสงคราม
15. กรรมานุภาพ
16. คนงามเพราะแต่ง
17. ระลึกชาติแต่หนหลัง
18. ที่พึ่งของเรา
19. ระเบียบนับถือพระพุทธศาสนา
20. กิริยาศิลปะ
21. แก่นพระศาสนาและอายุพระศาสนา
22. ถิ่นไทยดี
23. ดวงประทีปแก้ว
24. วิถีชีวิตของคน
25. ผีสอนโลก
26. วิถีชีวิตของคน
27. อนามัยแห่งชีวิต
28. อนามัยทางใจ
29. หกนครอิสระ
30. น้ำหนักและหญ้าปากคอก
31. จากปราสาท
32. ตำราดูลักษณะคน
33. องคคุณของบุคคลชั้นนำ
34. มงคลยอดชีวิต
35. โลกานุศาสนี
36. บทสร้างนิสัย
37. ปัณณกเทศนาวิธี
38. สมพรปากท่าน
39. นั่งอยู่ในหัวใจคน
40. ธรรมบรรณาการ
สมณศักดิ์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ดังนี้
พ.ศ. 2475 พระญาณดิลก
พ.ศ. 2490 พระราชกวี
พ.ศ. 2492 พระเทพโมลี
พ.ศ. 2496 พระธรรมปิฎก
พ.ศ. 2504 พระพรหมมุนี
พ.ศ. 2508 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
               สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) มรณภาพเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เวลา 06.10 น. สิริอายุ 77 ปี พรรษา 57

มท.เพิ่ม 35 จุดทำบัตรผ่านแดนด้วยอิเล็กโทรนิกส์ (E-Border Pass)


นายสุกิจ เจริญรัตนกุล อธิบดีกรมการปกครอง(ปค.) กล่าวว่า กรมการปกครองด้ทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการออกบัตรผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Border Pass) ซึ่งใช้เพียงบัตรประชาชนหรือเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ก็สามารถจัดทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราวได้อย่างรวดเร็ว
               โดยในปัจจุบันมีจังหวัดที่ให้บริการ E-Border Pass จำนวน 14 จังหวัด 35 แห่ง ได้แก่ ชายแดนพม่ามี 3 จังหวัด คือ เชียงราย(อ.แม่สาย) ตาก และระนอง ชายแดนลาว 8 จังหวัด คือ เชียงราย(อ.เชียงแสน และ อ.เชียงของ) น่าน เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหารและอุบลราชธานี ชายแดนมาเลเซีย มี 4 จังหวัด คือ สงขลา สตูล ยะลา นราธิวาส
               ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือผ่านแดนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับละ 30 บาท นอกจากนี้ กรมการปกครองเตรียมจะเปิดให้บริการ E-Borader Pass เพิ่มเติมอีก 14 แห่ง ใน 4 จังหวัด คือ สงขลา 2 แห่ง สตูล 2 แห่ง ยะลา 2 แห่ง และนราธิวาส 8 แห่ง ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการติดตั้งระบบจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายนนี้

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เครื่องบินทำฝนหลวงไถลตกรันเวย์ที่อุบลฯ นักบินปลอดภัย


ที่ลานบินหมายเลข 05 กองบิน 21 จังหวัดอุบลราชธานี มีเครื่องบินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รุ่น ซีเอเอสเอ 212 ที่ใช้ปฏิบัติการโปรยสารเคมีทำฝนหลวงในพื้นที่ 5 จังหวัดอีสานใต้ ประกอบด้วย จ.ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี ได้ไถลออกจากรันเวย์ ขณะนำเครื่องร่อนลงจอดเมื่อตอนเที่ยงวันนี้
       เครื่องบินเกษตรที่ใช้ทำฝนเทียมใน 5 จังหวัดอีสานใต้ ไถลออกจากรันเวย์ ขณะนักบินนำเครื่องร่อนลงจอด หน.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือระบุ รันเวย์ลื่นประกอบกับนักบินนำเครื่องลงผิดจังหวะ ทำให้เสียหลักตกลงไปข้างรันเวย์ ซึ่งไม่มีใครบาดเจ็บ และยังขึ้นบินปฏิบัติภารกิจได้ตามปกติ       
       ผู้สื่อข่าวจังหวัดอุบลราชธานี รายงานว่า เมื่อช่วงบ่ายของวานนี้ (29ส.ค.)ที่ลานบินหมายเลข 05 กองบิน 21 จังหวัดอุบลราชธานี มีเครื่องบินของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รุ่น ซีเอเอสเอ 212 ที่ใช้ปฏิบัติการโปรยสารเคมีทำฝนหลวงในพื้นที่ 5 จังหวัดอีสานใต้ ประกอบด้วย จ.ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี ได้ไถลออกจากรันเวย์ ขณะนำเครื่องร่อนลงจอดเมื่อตอนเที่ยงวันนี้
      
       หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งฐานปฏิบัติขึ้นบินทำฝนเทียมได้ประมาณ 1 สัปดาห์ และเช้าวันนี้ได้ขึ้นบินตามปกติ กระทั่งเสร็จภารกิจนักบินที่ยังไม่ทราบชื่อ ได้นำเครื่องร่อนลงจอดทางลานบินหมายเลข 05 และเกิดการไถลออกไปนอกรันเวย์ทำให้ตัวเครื่องหล่นไปอยู่ข้างลานบิน
      
       เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยทางอากาศ ต้องนำรถดับเพลิง และรถพยาบาลกองบิน 21 อุบลราชธานี เข้าช่วยเหลือ แต่นักบินและเจ้าหน้าที่ที่ขึ้นบินปฏิบัติภารกิจทุกคนไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด
      
       ด้านนายประสพ พรหมมา หน.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า เป็นการนำเครื่องร่อนลงผิดจังหวะ ประกอบกับพื้นรันเวย์มีน้ำทำให้ลื่น เครื่องบินจึงไถลออกไป โดยไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ ส่วนตัวเครื่องขณะนี้กู้ขึ้นมาไว้ในโรงเก็บซึ่งช่างจะเข้าตรวจดูความเรียบร้อยของตัวเครื่อง แต่ไม่มีผลกระทบกับแผนปฏิบัติการที่วางไว้จนถึงกลางเดือนกันยายนนี้ เพราะยังมีเครื่องบินอีกลำทำหน้าที่แทนได้

ม.ราชภัฏอุบลฯ เสวนาการบริหารจัดการน้ำในอนาคต


   มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดเสวนาการบริหารจัดการน้ำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต เพื่อระดมความคิดเห็นในการบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบ

               ( 28 ส.ค.55) ที่ห้องประชุมโกมุท มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อานนท์ สุริยา รองอธิการบดี ฝ่ายบริการวิชาการชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวในการเปิดเสวนาการบริหารจัดการน้ำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของจังหวัดอุบลราชธานีในอนาคต ว่า การจัดเสวนาในครั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้แสดงความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งวิทยากรในเวทีเสวนาได้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย
               โดยนายกำจรเดช สงใย หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการชลประทานอุบลราชธานี กล่าวว่า จังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดปลายน้ำ เพราะน้ำแม่น้ำสำคัญในภาคอีสานจะไหลมารวมกันที่จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และเนื่องจากปริมาณน้ำทางตอนบนและปริมาณน้ำฝนมีน้อย คาดว่าปีนี้น้ำจะท่วมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีน้อยกว่าปี 2554 ที่ผ่านมา
               ส่วนทางด้านนายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า การเกิดน้ำท่วมเป็นเรื่องธรรมชาติที่ควบคุมได้ยาก ดังนั้นทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการหาแนวทางลดความเสียหายและความรุนแรงลง ซึ่งในเบื้องต้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้ดำเนินการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ จัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนเพื่อเป็นการชะลอน้ำและกระจายน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงหน้าแล้ง
               ในขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา เพียรชนะ ประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม คระวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วมจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนหนึ่งเกิดจากป่าบุ่งป่าทามลดจำนวนลง ไม่มีพื้นที่การชะลอน้ำ อีกทั้งพื้นที่แก้มลิงเริ่มลดน้อยลงเนื่องจากการขยายตัวของสังคม แหล่งน้ำต่างๆเกิดการตื้นเขิน ซึ่งการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้ประสบความสำเร็จนั้น ทุกภาคส่วนต้องมีความรู้ มีข้อมูลที่ชัดเจน และแก้ไขอย่างจริงจัง
               นอกจากนี้วิทยากรทั้งสามคนยังมีความเห็นตรงกันว่า ในอนาคตควรหาแนวทางในการพร่องน้ำ ที่บริเวณแก่งสะพือและแก่งตะนะให้ไหลลงสู่แม่น้ำโขงเร็วยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในจังหวัดอุบลราชธานี

ชาวบ้านคูสว่าง อุบลฯ ร่วม สสส.สร้างบ้านหนีน้ำท่วมซ้ำซาก


       ชาวบ้านในอำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี ซึ่งเป็นพื้นที่ถูกน้ำท่วมซ้ำซาก ร่วมกับ สสส.และภาคธุรกิจเอกชนทำบ้านน็อกดาวน์ถอดประกอบ หลังต้องนอนบนพื้นถนนเมื่อเกิดน้ำท่วมทุกปี เผยบ้านที่ทำขึ้นเองสามารถใช้งานนานกว่า 10 ปี      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.อุบลราชธานี ชาวบ้านคูสว่าง ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ ร่วมกันทำบ้านน็อกดาวน์แบบถอดประกอบได้เพื่อใช้พักอาศัยระหว่างน้ำจากแม่น้ำมูลไหลท่วมชุมชน ซึ่งเกิดเป็นประจำทุกปีเพราะหมู่บ้านตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำ และเป็นที่ลุ่มถูกน้ำท่วมทั้งหมู่บ้าน
      
       โดยเมื่อปี 2554 ชาวบ้านคูสว่างกว่า 210 ครอบครัวถูกน้ำท่วมขังนานกว่า 2 เดือน ต้องไปอาศัยอยู่ในเต็นท์ที่ อบต.จัดหาให้ แต่ไม่สะดวกเพราะฝนตกน้ำไหลเข้าที่นอน และต้องระวังสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์มีพิษที่หนีน้ำมาเช่นกัน ชาวบ้านที่เป็นอาสาสมัครป้องกันภัยและพัฒนาชุมชนภาคประชาชน จ.อุบลราชธานี จึงระดมความเห็นออกแบบบ้านใช้พักอาศัยตามความต้องการของชุมชน โดยทำเป็นโครงเหล็ก ยกพื้นสูง 1 เมตร มุงหลังคาและผนังบ้านด้วยผ้าใบ
      
       บ้านพักชั่วคราวที่สร้างขึ้น หลังหนึ่งมีความยาว 11 เมตร กว้าง 2.40 เมตร ใช้พักอาศัยได้ 3 ครอบครัว และสามารถถอดประกอบเก็บไว้ใช้ได้ถึง 10 ปี สำหรับงบประมาณที่ใช้สร้างบ้านชั่วคราวจำนวน 10 หลังและเรือ 1 ลำ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน สสส.และภาคธุรกิจเอกชนเป็นมูลค่าราว 3 แสนบาท
      
       สำหรับเรือหางยาวที่ชาวบ้านสร้างขึ้นสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ 1.2 ตัน มีความเร็ว 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนเรือท้องแบนที่ราชการจัดมาช่วยไม่เหมาะใช้ในพื้นที่ของหมู่บ้านที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ทำให้การแล่นจากหมู่บ้านไปถึงถนนใหญ่ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ทำให้ชาวบ้านและนักเรียนไปเรียนและเข้าทำงานสาย แต่เรือที่ชาวบ้านทำขึ้นใช้เวลาเพียงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น
      
       นายสังคม พันธุ์สถิตย์ แกนนำชาวบ้านคูสว่าง กล่าวว่า ชุมชนคูสว่างถูกน้ำท่วมทุกปี และมีชาวบ้านกว่า 40 ครอบครัวที่มีบ้านชั้นเดียวทำให้ไม่มีที่พักอาศัยต้องไปอยู่ในเต็นท์ชั่วคราวที่ไม่สะดวก การทำบ้านพักชั่วคราวให้ชาวบ้านที่อพยพหนีน้ำท่วมครั้งนี้ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ต้องนอนหวาดระแวงสัตว์ร้ายมากัดต่อยเหมือนทุกปี หลังน้ำท่วมผ่านไปก็ถอดเก็บไว้ใช้ได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ส่วนเรือหางยาวช่วยลดเวลาในการเดินทางให้น้อยลง ไม่ต้องไปทำงานหรือไปเรียนสายเมื่อชุมชนถูกน้ำท่วม
      
       ด้านนายศักดิ์สิทธิ์ บุญญะบาล หัวหน้าศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยและพัฒนาชุมชนภาคประชาชน จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ก่อนทำบ้านพักชั่วคราวได้มีการหารือความต้องการในกลุ่มชาวบ้านว่าจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร เพราะที่ผ่านมามีการนำงบประมาณของรัฐมาใช้ทุกปี
      
       แต่ชาวบ้านไม่ได้รับประโยชน์ เพราะความช่วยเหลือที่ส่งมาให้ไม่ตรงตามความต้องการใช้งาน เช่น เรือท้องแบนที่ราชการส่งมาแต่ลักษณะของเรือที่ต้านกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวของหมู่บ้านทำให้เรือแล่นช้าไม่ตอบสนองความต้องการ หรือเต็นท์ที่สำนักงาน อบต.ให้ชาวบ้านพักชั่วคราวมีแต่หลังคา แต่ไม่มีผ้าใบล้อมรอบ เมื่อฝนตกทำให้ผู้อยู่อาศัยเปียกฝน รวมทั้งพื้นแฉะนอนไม่ได้
      
       ชาวบ้านจึงร่วมกันคิดออกแบบบ้านและเรือที่แล่นตัดกระแสน้ำได้ดีขึ้นมาใช้เอง จึงเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของชาวบ้าน และสามารถใช้ประโยชน์ได้นานไม่น้อยกว่า 10 ปี ช่วยให้คุณภาพชีวิตของชาวบ้านที่ต้องอพยพหนีน้ำท่วมดีขึ้น ส่วนการบริหารดูแลสิ่งของทั้งหมด ชาวบ้านได้ตั้งคณะกรรมการมาควบคุมดูแลกันเอง เพราะเป็นสิ่งของส่วนกลางไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้
      
       สำหรับระดับแม่น้ำมูลล่าสุดมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยขณะนี้มีระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากช่วง 3-4 วันที่ผ่านมากว่า 80 เซนติเมตร จากอิทธิพลของน้ำฝนที่ตกต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีระดับน้ำสูง 2.69 เมตร เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 11 เซนติเมตร โดยน้ำมีความเร็ว 282 ลบ.ม./ต่อวินาที แต่ยังมีน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 4.31 เมตรที่สะพานเสรีประชาธิปไตย

แห่ขอเลขเด็ดเรือโบราณในอุบลฯ หลังงวดก่อนได้เฮ


เรือโบราณ+บ้านท่าศาลา+ชีทวน-11.jpg
               ชาวบ้านนับร้อยแห่กราบไหว้เรือตะเคียนโบราณ ภายในวัดอัมพวันวนาราม จ.อุบลราชธานี หลังให้โชคจากเลขเด็ด 77 มาแล้วเมื่องวดที่แล้ว จนเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ บางคนอ้างเห็นเลข 995 537 83 และ 53 ...

               เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีชาวบ้านนับร้อยคน เดินทางมายังวัดอัมพวันวนาราม ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เพื่อขอโชคจากเรือโบราณที่ทำจากไม้ตะเคียน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า เรือกระแซง อายุกว่า 200 ปี ขนาดความกว้างประมาณ 3.80 เมตร ยาวประมาณ 26.40 เมตร ที่จมอยู่ในลำน้ำชี และได้มีการขุดขึ้นมา ทำพิธีบวงสรวงมาไว้ยังวัดแห่งนี้ ซึ่งที่ผ่านมามีชาวบ้านมากราบไหว้ขอโชค จนหลายคนถูกหวยเลข 77 เมื่องวดวันที่ 16 ส.ค. ทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์และเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ มีการนำแป้งมาลูบขอเลขเด็ดงวดประจำวันที่ 1 ก.ย.นี้ บางคนอ้างว่าเห็นเลข 995 537 83 และ 53 ขณะที่บางคนไม่ยอมเปิดเผยตัวเลข เพราะเกรงจะหาซื้อยาก
               ด้านนายเขี่ยง ธานี อายุ 83 ปี อยู่บ้านเลขที่ 67 หมู่ 4 บ้านท่าศาลา ต.ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นคนเฒ่าคนแก่ของหมู่บ้าน บอกว่า ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบ้านท่าศาลา เคยพบเห็นเรือดังกล่าวขณะออกไปหาปลาในลำน้ำชี ตั้งแต่ปี 2551 โดยพบเพียงบางส่วนของเรือที่โผล่เหนือน้ำขึ้นมาประมาณ 10 ซม. ประกอบช่วงนั้นระดับน้ำสูงมาก จึงไม่สามารถนำเรือขึ้นมาได้ และเมื่อปี 2555 ได้เกิดภาวะแล้งกว่าทุกปีที่ผ่านมา ระดับน้ำในแม่น้ำชีจึงลดลงมาก ทำให้เห็นเรือโผล่ขึ้นเหนือน้ำประมาณ 80 ซม. จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 ส.ค.2555 ที่ผ่านมา ชาวบ้านจึงตัดสินใจนำเรือขึ้นจากโคลนใต้น้ำ แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้เพราะระดับน้ำตื้นเขิน เกรงว่าเรือจะได้รับความเสียหาย จึงจุดธูปเทียนกราบไหว้บอกกล่าวอีกครั้ง และได้มีชาวบ้านรายหนึ่งฝันเห็นผีเฝ้าเรือลำดังกล่าว มาบอกว่าขอไปอาศัยอยู่ที่วัด และขอศาลพระภูมิ หากทำให้ตามที่ขอจะให้โชคลาภตลอดไป ชาวบ้านจึงร่วมแรงร่วมใจนำเรือขึ้นจากน้ำได้สำเร็จ และนำมาไว้ภายในวัดแห่งนี้ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของหมู่บ้าน

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี "น้ำตกโบกลึก"

แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดอุบลราชธานี "น้ำตกโบกลึก" เกิดจากจากลำห้วยสูบ ในพื้นที่บ้านใหม่ดงสำโรง ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ ที่ไหลมาจากภูสูบ ไหลลดหลั่นเป็นชั้นเล็กๆ หลากหลายชั้น ซึ่งกระแสน้ำได้พัดพากัดกร่อนก่อให้เกิดหลุมหรือโบกขนาดใหญ่มากมาย มีสถานที่ให้เล่นน้ำอย่างสนุกสนาน ห่างจากทางหลวงหมายเลข 2135 (ถนนสายศรีเมืองใหม่-หนามแท่ง) เพียง 2 กิโลเมตร 

334069_4496110929333_844047539_o.jpg

210794_4496086848731_1723885509_o.jpg

614382_4496130169814_184308621_o.jpg

616883_4496173330893_1522184706_o.jpg

272375_4496027407245_576009300_o.jpg


วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ฝึกขับรถเกี่ยวนวดข้าวที่อุบลฯ ร่วมสัมผัสวิถีเกษตรกรยุคใหม่


                    บนพื้นที่กว่า 20 ไร่ ติดถนนชยางกูร ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ภายในอาณาบริเวณบริษัทเจริญชัย แทรคเตอร์ จำกัด ที่เปิดเป็นโรงเรียนฝึกขับรถเกี่ยวนวดข้าว โดยความร่วมมือของค่ายสยามคูโบต้าฯ ได้รับความสนใจจากบรรดาเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมเกือบร้อยคน หลังจากรุ่นบุกเบิกหรือรุ่นแรกประสบผลสำเร็จนับสิบคนด้วยนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพเสริมเมื่อว่างเว้นฤดูทำนา
"ท่องโลกเกษตร" สัปดาห์นี้ได้มีโอกาสร่วมคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ไปสัมผัสวิถีเกษตรกรยุคใหม่ ที่ต่างให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฝึกขับรถเกี่ยวนวดข้าว รุ่นที่ 2 จำนวน 80 คน ณ โรงเรียนแห่งนี้ ด้วยการนำของ วีรชัย วิภาตวิทย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไปสายงานขายและตลาด บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด
                   "เราได้ร่วมกับผู้แทนจำหน่าย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) จัดอบรมหลักสูตร "นักเกี่ยวมืออาชีพ" ให้แก่เกษตรกร ลูกค้า ผู้สนใจทั่วไป วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดนักขับรถเกี่ยวนวดข้าวมืออาชีพ ที่มีความรู้ ความเข้าใจ บำรุงรักษาดูแลรถได้อย่างถูกต้อง และยังทำธุรกิจรับจ้างเกี่ยวนวดข้าวได้อย่างมีประสิทธิผล โดยเฉพาะผู้ที่สนใจ แต่ไม่มีทุนซื้อรถเกี่ยวเป็นของตนเอง ก็สามารถสมัครงานเป็นผู้ขับรถเกี่ยวกับเจ้าของรถได้" รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บอกถึงเหตุผลการจัดโครงการดังกล่าวขึ้น
                    วีรชัย กล่าวเสริมว่า บริษัทได้พัฒนาโครงการนี้ขึ้นมามุ่งหวังเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่เกษตรกรอย่างแท้จริง มีเป้าหมายฝึกอบรมเกษตรกร ลูกค้า ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป จำนวน 1,200 คน ทั่วประเทศภายในปี 2555 โดยแบ่งอบรมเป็นกลุ่มเล็กๆ เป็นรุ่นๆ ประมาณ 80 รุ่น โดยจะพยายามเพิ่มศักยภาพในการฝึกอบรมให้มากขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมจำนวนเกษตรกร ลูกค้า ประชาชนผู้สนใจได้อย่างทั่วถึง
                   อย่างไรก็ตาม นอกจากโครงการอบรมขับรถเกี่ยวนวดข้าวซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่แล้ว บริษัทยังจัดโครงการต่อเนื่อง "พร้อมก่อนคุ้มกว่า" เพื่อเตรียมความพร้อมของรถในการใช้งานก่อนช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรใช้งานรถได้ต่อเนื่อง อันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาด้วย โดยรุ่น 2 นี้ เริ่มอบรมวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา และไปสิ้นสุดวันที่ 1 ตุลาคม 2555
                  "อนาคตจะมีการลงนามความร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานในสาขาอาชีพผู้ขับรถเกี่ยวนวดข้าว ซึ่งจะใช้เป็นเนื้อหาจัดอบรมและทดสอบ นั่นหมายถึง แรงงานที่ผ่านการอบรมขับรถเกี่ยวนวดข้าวคูโบต้า ก็จะได้รับประกาศนียบัตรจากกรมพัฒนาแรงงานด้วย ซึ่งจะช่วยในการหางานรับจ้างขับรถเกี่ยวนวดข้าวได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเจ้าของรถวางใจในทักษะแรงงานที่มีใบขับขี่รถเกี่ยวนวดข้าวจากโรงเรียนฝึกนี้" วีรชัย แจง
                  ด้าน สมชาติ พงศพนาไกร แห่งบริษัท เจริญชัย แทรคเตอร์ จำกัด เจ้าของสถานที่โรงเรียนฝึกขับรถเกี่ยวนวดข้าว กล่าวว่า ด้วยเห็นว่าเป็นโครงการที่ดี เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร ลูกค้า ประชาชนทั่วไป อีกทั้งเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัท ผู้แทนจำหน่าย วิทยาลัยเกษตร และเกษตรกรในพื้นที่ จึงเปิดพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นสถานที่ฝึกอบรมขับรถเกี่ยวนวดข้าว และส่วนหนึ่งเพื่อการฝึกซ่อม ดูแล รักษารถเกี่ยวซึ่งเป็นภาคปฏิบัติ ขณะที่ส่วนหนึ่งสำหรับการอบรมในภาคทฤษฎี โดยทั้งหมดเป็นการฝึกอบรมฟรี
                 หนึ่งในเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมรุ่นแรก ธเรศ แสงสุกวาว อยู่บ้านเลขที่ 23 หมู่ 10 ต.พระเหลา อ.พระนา จ.อำนาจเจริญ บอกว่า ที่บ้านทำนา 16 ไร่ เข้าร่วมโครงการนี้หลังจากซื้อรถแทรคเตอร์ และทางเอเย่นต์ได้จัดทำกิจกรรมนี้ขึ้น เห็นว่าเป็นโครงการที่ดีจึงเข้าร่วมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยเริ่มจากหัดขับขี่ ขับเกี่ยวข้าว เพื่อความเข้าใจในการทำงานของรถ ตลอดรวมทั้งการบำรุง ดูแลรักษาอย่างถูกวิธี
                 "นอกจากเกี่ยวข้าวในนาของผมเองแล้ว ผมก็จะเน้นนำรถเกี่ยวออกรับจ้างเพื่อนเกษตรกรด้วย ในอัตราไร่ละ 650 บาท วันหนึ่งๆ ก็จะได้ 17-18 ไร่ ซึ่งก็จะมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นมาก จากที่เมื่อก่อนเมื่อว่างจากฤดูทำนาไม่มีงานอะไรทำ โครงการนี้ จึงนับเป็นอีกทางเลือกของเกษตรกรอย่างเราครับ" ธเรศ บอกเหตุผลการเข้าร่วมอบรมฯ
                 ขณะที่ สมเจตน์ หยั่นเจริญ เกษตรกรวัย 30 ปีเศษ จาก อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ที่เข้าร่วมอบรมรุ่นที่ 2 บอกว่า ที่บ้านทำไร่ข้าวโพด แต่ด้วยอยากมีอาชีพเสริมและได้รับฟังจากเพื่อนเกษตรกรถึงการเปิดโครงการ จึงเห็นเป็นโอกาสที่ดีในการจะยึดเป็นอาชีพเสริมได้ในฐานะนักขับขี่รถเกี่ยวนวดข้าวที่มีประสิทธิภาพในอนาคต จึงได้เข้าร่วมอบรมรุ่น 2 ดังกล่าว
                เช่นเดียวกับเกษตรกรอีกหลายๆ คนที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนแห่งนี้ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นโครงการที่ดีที่เปิดโอกาสให้ไม่เฉพาะกับผู้เป็นลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยหนุนให้เกษตรกร ผู้สนใจทั่วไป มีทางเลือกในการประกอบอาชีพบนวิถีของความเป็นเกษตรกรยุคใหม่ด้วย
....................................
(ฝึกขับรถเกี่ยวนวดข้าวที่อุบลฯ ร่วมสัมผัสวิถีเกษตรกรยุคใหม่ : คอลัมน์ท่องโลกเกษตร : โดย...ธานี กุลแพทย์)

จนท.สนธิกำลังจับกุมแก๊งมอดไม้ ยึดไม้พะยูงเตรียมส่งนายทุน


  เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย สนธิกำลังเข้ายึดไม้พะยูงจำนวน 48 ท่อน พร้อมจับกุมผู้ต้องหา 5 คน ขณะกำลังลักลอบตัดไม้พะยูงในเขตป่าภูเอือด อุทยานแห่งชาติภูจอง-นายอย ห่างจากบ้านหนองเม็ก ต.ห้วยข่า อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี ประมาณ 15 กิโลเมตร ทั้งหมดรับสารภาพว่าลักลอบเข้ามาตัดไม้เพื่อเตรียมขนย้ายส่งให้กับนายทุนชาวจีน โดยเปลี่ยนเส้นทางลำเลียง ลงทางหน้าผาช่องคำปลากั้ง ติดกับบ้านห้วยทราย แขวงจำปาสัก ประเทศลาว
               ขณะที่ตำรวจภูธรโดนเอาว์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เข้าตรวจสอบไม้พะยูงที่ถูกซุกซ่อนมาในรถกระบะ จำนวน 7 ท่อน โดยใช้แตงโมปิดทับ คลุมด้วยผ้าใบ เพื่ออำพรางเจ้าหน้าที่ แต่รถคันดังกล่าวเสียหลักพุ่งชนกำแพงป้ายโรงเรียนบ้านสำโรงเกียรติ ต.บักดอง อ.ขุนหาญ ขณะที่ขับรถหนีการจับกุมของเจ้าหน้าที่ ส่วนผู้ที่นั่งมาในรถอาศัยความมืดหลบหนีไปได้

รมช.สธ ตรวจเยี่ยมพื้นที่อุบลราชธานี ชูนโยบาย บาทยุคใหม่เพิ่มคุณภาพ


                ( 25 สิงหาคม 2555 ) นายแพทย์สุรวิทย์  คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเดินทางมาตรวจราชการพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการตามนโยบาย “ 30 บาทยุคใหม่เพิ่มคุณภาพ ”  ในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าตามนโยบายรัฐบาลว่า   โครงการดังกล่าวจะเริ่มดำเนินการในวันที่ 1 กันยายน 2555 พร้อมกันทั่วประเทศ โดยดำเนินการในระดับโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไปจนถึงโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ โดยประชาชนจะร่วมจ่ายเพื่อพัฒนาสถานบริการ    หากรายใดไม่ประสงค์จ่าย  30 บาท ก็สามารถใช้สิทธินั้นได้ รวมทั้งผู้ที่เคยได้รับสิทธิยกเว้นการร่วมจ่าย 30 บาท มีทั้งหมด 21 กลุ่ม ก็จะได้รับการยกเว้นร่วมจ่ายเหมือนเดิม ได้แก่ 1. ผู้เข้ารับบริการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ฉุกเฉินเร่งด่วนหรือเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่ระดับต่ำกว่าโรงพยาบาลชุมชน 2. ผู้มีรายได้น้อย 3. ผู้นำชุมชน ได้แก่ กำนัน สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และบุคคลในครอบครัว 4. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานครและบุคคลในครอบครัว 5. ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี 6. เด็กอายุไม่เกิน 12 ปี 7. คนพิการทั้งที่มีบัตรและไม่มีบัตรประจำตัว 8. พระภิกษุ สามเณร แม่ชี นักบวช นักพรต ผู้นำศาสนาอิสลามที่มีหนังสือรับรองและบุคคลในครอบครัวของผู้นำศาสนาอิสลาม 9. ทหารผ่านศึกทุกระดับที่มีบัตรและบุคคลในครอบครัว รวมถึงผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิและทายาท 10. นักเรียนไม่เกินชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 11, นักเรียนทหารและทหารเกณฑ์ 12. ผู้ได้รับพระราชทานเหรียญงานพระราชสงครามในทวีปยุโรปและบุคคลในครอบครัว 13. อาสาสมัครมาเลเรียตามโครงการของกระทรวงสาธารณสุขและบุคคลในครอบครัว 14. ช่างสุขภัณฑ์หมู่บ้านตามโครงการของกรมอนามัยและบุคคลในครอบครัว 15. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญชายแดน 16. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน 17. สมาชิกผู้บริจาคโลหิตของสภากาชาดไทย ที่มีหนังสือรับรองว่าได้บริจาคโลหิตตั้งแต่ 18 ครั้งขึ้นไป 18. หมออาสาหมู่บ้านตามโครงการกระทรวงกลาโหม 19. อาสาสมัครคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม 20. อาสาสมัครทหารพรานในสังกัดกองทัพบก 21. บุคคลที่แสดงความประสงค์ไม่จ่ายค่าบริการส
                นายแพทย์สุรพร  ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า การดำเนินงานเกี่ยวกับผลงานตามโครงการ “ รัฐบาลพบประชาชน ” จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นที่ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP CENTER จังหวัดอุบลราชธานีร่วมกันหลายหน่วยงาน  กระทรวงสาธารณสุขโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี  ได้มีการจัดนิทรรศการและนำเสนอผลงานเรื่อง “ ผลงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ซึ่งเป็นหนึ่งในกองทุนที่จัดตั้งโดยรัฐบาลที่มีความก้าวหน้าในการดำเนินงานเป็นรูปธรรมและเป็นหนึ่งในกองทุนสำคัญของรัฐบาลที่ประชาชนประจักษ์ถึงความสำเร็จในการทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ มีมาตรฐาน ตั้งแต่การส่งเสริมป้องกันโรคไปจนถึงได้รับการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วย กิจกรรมภายในบูธ ได้จัดเตรียมตู้ตรวจสอบสิทธิของประชาชน การประชาสัมพันธ์นโยบายรัฐบาลด้านหลักประกันสุขภาพ ได้แก่ นโยบาย “ เจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต ไม่ถามสิทธิ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น ” , นโยบาย “ 30 บาทยุคใหม่เพิ่มคุณภาพ ”  มีหมอใกล้บ้านใกล้ใจ มียาดีใช้เพียงพอ ไม่ต้องรอรักษานาน มีจัดการโรคเรื้อรัง ” , การสื่อสารความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ รวมทั้งการร่วมรับฟังการถ่ายทอดสดรายการพิเศษ “ รัฐบาลพบประชาชน ” ทุนเพื่อคุณภาพชีวิต โดย นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรีกับการดำเนินโครงการตาม 5 นโยบายภาครัฐ ได้แก่ 1) นโยบายรถคันแรก 2) นโยบายบ้านหลังแรก 3)นโยบายพักหนี้เกษตรกร 4) นโยบายบัตรสินเชื่อเกษตรกร 5 ) นโยบายประกันภัยพืชผลการเกษตร และการดำเนินงานของรัฐมนตรีที่กำกับดูแล 5 กองทุน ได้แก่ 1) กองทุนพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน ( SML ) 2 ) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 3) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 4 ) กองทุนตั้งตัวได้และ 5) กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                นายแพทย์สุรพร กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดำเนินการเรื่องกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้สั่งการให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง ทุกระดับ เร่งประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนและพัฒนาความพร้อมให้บริการที่ดีขึ้นทุกด้าน ทั้งผู้ป่วยฉุกเฉินผู้ป่วยเรื้อรัง บริการผู้สูงอายุ ผุ้พิการ รวมทั้ง การส่งเสริมสุขภาพ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง  การตรวจรักษาโรคทั่วไป โดยใช้ระบบสื่อสารทาง Internat กับแพทย์ผู้รักษาโดยตรง มีการประสานงานกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 10 อุบลราชธานี เพื่อขอรับคู่มือบัตรทอง เพื่อชี้แจงร่วมแจกจ่ายให้แก่ประชาชน ต่อไป

เวที สปสช.ที่อุบลฯเข้ม ประชาชนขอมาตรฐานเดียวในการรักษาพยาบาล

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 ที่หอประชุมพนาภินันท์ โรงพยาบาลอำเภอตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี  ได้มีการจัดประชุมเวทีสมัชชาประชาพิจารณ์หลักประกันสุขภาพเพื่อรับฟังความคิดเห็นทั่วไปแบบมีส่วนร่วมของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  ตามมาตรา 18 (13) ประจำปี 2555 ซึ่งเป็นเวทีที่ 4 ต่อเนื่องจากสามเวทีที่ผ่านมา  โดยเวทีนี้ได้ตระเวนมาจัดที่อำเภอตระการพืชผลมีประชาชนจาก 6 อำเภอเข้าร่วม  ได้แก่  ตระการพืชผล  กุดข้าวปุ้น  เขมราฐ  นาตาล  ศรีเมืองใหม่และโพธิ์ไทร  มีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างคึกคักประมาณกว่า  120 คน
               การประชุมครั้งนี้ถือว่ามีความเข้มข้นเป็นพิเศษ  ผู้เข้าร่วมประชุมต่างแสดงทรรศนะอย่างตรงไปตรงมาโดยเฉพาะประเด็นเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลที่ในเวทีเสนอว่าอยากให้มีระบบรักษาพยาบาลมาตรฐานเดียว  นั่นคือ  1 คน 1 บัตร 1 สิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ถือบัตรข้าราชการ บัตรประชาชน หรือบัตรประกันสังคมก็ตาม โดยอยากให้ระบบการรักษาและบริการให้มีมาตรฐานเดียวและสามารถใช้บัตรที่มีเลข 13 หลัก ในการยื่นรักษาพยาบาลกับทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศได้ เพื่อความสะดวกและเป็นการไม่เลือกปฏิบัติ เพราะสิ่งเป็นอยู่ในปัจจุบันการบริการของหน่วยงานด้านสุขภาพบางแห่งมักจะเลือกปฏิบัติ โดยให้บริการที่ดีไม่ว่าจะเป็นห้องพักรักษาตัว การจ่ายยาและบริการด้านอื่นๆให้กับผู้ที่ถือบัตรข้าราชการและบัตรประกันสังคมก่อน  เพราะถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่สามารถเบิกได้ ส่วนประชาชนผู้ที่ถือบัตรทองทั่วไปกลับให้การบริการอีกแบบหนึ่ง  ซึ่งผู้เข้าร่วมเวทีต่างก็สะท้อนว่าเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมให้กับคนทุกข์คนยาก
               นางดอกไม้  ปวะบุตร  พยาบาลเวชปฏิบัติจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป้า  อำเภอตระการพืชผลกล่าวว่า  ถ้าระบบการรักษาพยาบาลสามารถปฏิบัติได้เหมือนกันทั่วประเทศโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติว่าใครมีสิทธิ์ใช้บัตรอะไรจะเป็นเรื่องที่ดีมากๆ แต่ในส่วนของตนซึ่งปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลซึ่งทำงานให้บริการกับประชาชนในระดับชุมชน  ถือว่าการบริการในระดับชุมชนนั้นทุกคนได้รับการบริการอย่างเท่าเทียมกัน  ดังนั้นในระดับชุมชนจึงไม่มีปัญหาในด้านนี้  แต่ในส่วนของหน่วยบริการขนาดใหญ่นั้นยังถือว่ามีระบบบริการที่ไม่เท่าเทียมกัน  คนไข้ที่เป็นข้าราชการสามารถเลือกรับยานอกกรอบหรือยาจากต่างประเทศได้  เนื่องจากสามารถเบิกได้แต่ถ้าเป็นประชาชนธรรมดาก็อาศัยยาทั่วไป  ซึ่งตนมองว่าไม่มีความเท่าเทียมถ้าจะให้ดีน่าจะมีบริการที่ดีให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
               นอกจากนี้ในเวทียังได้เสนอประเด็นอื่นๆ เช่น  เรื่องเกณฑ์มาตรฐานในการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน  เพราะที่ผ่านมาการรักษาผู้ป่วยหรือการบริการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยยังมีความสับสนอยู่ว่าอะไรคือเกณฑ์ชี้วัดว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินเพราะเกณฑ์ของแต่ละที่ไม่เท่ากัน  ดังนั้น  อาจทำให้เกิดความสับสนในการบริการผู้ป่วยได้  ในช่วงสุดท้ายผู้อำนวยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 10 ซึ่งได้เข้าร่วมเวทีตั้งแต่ต้นจนครบกระบวนการได้กล่าวสรุปถึงภาพรวมของงานและได้ตอบคำถามถึงข้อเสนอแนะที่เกิดขึ้นในเวทีเบื้องต้น  เพื่อนำเรื่องที่รับฟังไปสู่การปรับเปลี่ยนนโยบายเพื่อให้ระบบหลักประกันสุขภาพสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนให้ได้มากที่สุด

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กรมควบคุมโรค แนะคนไทยดูสุขภาพให้แข็งแรง ห่างไกลโรคไม่ติดต่อ


กรมควบคุมโรค แนะคนไทย ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเสี่ยงสิ่งเสพติดและสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ เพื่อป้องกันการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อ
               ( 23 ส.ค.55)   ที่โรงแรมลายทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี   นายแพทย์นพพร     ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค  เป็นประธานเปิดโครงการคัดเลือกผลการพัฒนาดำเนินงานดีเด่น/ดีเยี่ยม ภายใต้โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพดีวิถีไทย ลดภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2555 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยสู่การปฏิบัติของภาคีเครือข่าย ในการลดปัจจัยเสี่ยง เสริมปัจจัยเอื้อ สร้างกระแสให้ประชาชน อายุ 15ปีขึ้นไปตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมสร้างสุขภาพนำไปสู่การลดปัจจัยเสี่ยงและโรควิถีชีวิต
               รองอธิบดีกรมควบคุมโรค  เปิดเผยว่า ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศไทยและมีผู้ป่วยมากที่สุดได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน ซึ่งพบว่าอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและโรคหัวใจขาดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองใหญ่ หรือ อัมพฤกษ์ อัมพาต มีแนวโน้มชะลอตัวลง ส่วนจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
               สำหรับแนวทางป้องกันโรคนั้น ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ ไม่รับประทานอาหารที่มีรสจัด ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์  ไม่สูบบุหรี่ ไม่เสพยาเสพติด ไม่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นมลพิษ และหลีกเลี่ยงความเครียด
       
กรกช ภูมี / สวท.อุบลฯ
สปข.2 รายงาน / 23 ส.ค.55

ชาวบ้านพีมูฟจี้ “ยิ่งลักษณ์” หยุดไล่คนจนออกจากป่า

กลุ่มชาวบ้านพีมูฟหลายร้อยคนตบเท้ายื่นหนังสือถึง “ยิ่งลักษณ์” สั่งกรมอุทยานแห่งชาติฯ หยุดรื้อทำลายบ้านและตัดฟันสวนยางพาราของชาวบ้านใน 2 จังหวัดภาคใต้ เพราะเป็นเขตพิพาทที่ชาวบ้านอยู่ก่อนประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และแต่ละรายเป็นคนยากจนมีที่ดินทำกินคนละไม่กี่ไร่ไม่ใช่นายทุนรายใหญ่ รวมทั้งอยู่ระหว่างหารือระหว่างภาครัฐออกเป็นโฉนดชุมชน
      
       เมื่อเวลา 10.30 น. (24 ส.ค.) กลุ่มชาวบ้านขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือพีมูฟ จ.อุบลราชธานี จำนวนหลายร้อยคน นำโดยนางสมปอง เวียงจันทร์ คณะกรรมการชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มแม่น้ำมูล รวมทั้งเครือข่ายฮักน้ำของจังหวัดอุบลราชธานี รวมตัวขอพบนายสุรพล สายพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องขอความเป็นธรรมผ่านไปถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
      
       กรณีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำกำลังกว่า 3,000 นายเข้าขับไล่ชาวบ้านและตัดทำลายต้นยางพาราในเขต อ.ป่าพะยอม อ.ศรีนครินทร์ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง และในพื้นที่ อ.ห้วยยอด จ.ตรัง โดยเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชอ้างว่าชาวบ้านทั้งหมดบุกรุกทำสวนยางพาราและปลูกสร้างที่พักอาศัยในเขตอุทยานแห่งชาติ ทั้งที่เป็นเขตพิพาทระหว่างรัฐกับชาวบ้าน
      
       เนื่องจากชาวบ้านได้เข้าอยู่อาศัยมาก่อนมีการประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเป็นชาวบ้านยากจนมีที่ดินครอบครองคนละไม่กี่ไร่ ไม่ใช่นายทุนรายใหญ่ที่มีเจตนาบุกรุกยึดครองที่ดินไว้จำนวนมาก และข้อขัดแย้งดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการเจรจาขอออกเป็นโฉนดชุมชน
      
       โดยมีการประชุมล่าสุดร่วมกับนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา แต่วันรุ่งขึ้นคือวันที่ 23 ส.ค.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชกลับนำกำลังเจ้าหน้าที่เข้าตัดต้นยางและรื้อบ้านพักอาศัยของชาวบ้านจนได้รับความเสียหายจำนวนมาก
      
       จึงต้องการชุมนุมและยื่นหนังสือเรียกร้องให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีออกคำสั่งให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถอนกำลังเจ้าหน้าที่และหยุดตัดทำลายต้นยางพาราของชาวบ้านในพื้นที่พิพาททันที พร้อมแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดทำโฉนดชุมชนในกรณีนี้
      
       นอกจากนี้ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดจากการตัดฟันทำลายต้นยางพาราและสิ่งปลูกสร้างพักอาศัยให้ชาวบ้านที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมานายอดิศักดิ์ เทพอาสน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้ออกมาพบผู้ชุมนุมและรับหนังสือร้องเรียนและรับปากว่าจะแจ้งให้รัฐบาลทราบความต้องการภายในวันเดียวกันนี้ ทำให้ชาวบ้านที่มาประท้วงพอใจพากันเดินทางกลับในเที่ยงวันเดียวกัน

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กศน.อุบลฯ ร่วมกับ OKMD จัดกิจกรรมเผยแพร่ชุด “ความรู้สร้างอาชีพ”

นายทศพร อินทรพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดอุบลราชธานี (ผอ.กศน.จังหวัดอุบลราชธานี) เปิดเผยว่าในปี 2553-2554 สบร.            ได้ทำความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ “ศูนย์ความรู้กินได้” ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ของประชาชนในพื้นที่ ก่อให้เกิด “ทุนทางปัญญา” ให้กับสังคมไทยเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยเชื่อมโยงและพัฒนาองค์ความรู้จากทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม เข้ากับภูมิปัญญาและทักษะเฉพาะตัวของแต่ละท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่กระบวนการคิดและต่อยอดในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน
          สำนักโครงการและจัดการความรู้ ได้รับความเห็นชอบในหลักการ จากคณะกรรมการบริหารสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ให้ดำเนินงานโครงการขยายผลศูนย์ความรู้กินได้ ในปีงบประมาณ 2555 เพื่อขยายผลศูนย์ความรู้ ต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการพัฒนา “คน” ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา ให้มีทักษะในการบริหารความรู้ (Knowledge Management: KM) เพื่อให้เป็นนักจัดการความรู้ (Knowledge Professional: KP)ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สาธารณะ และสามารถพัฒนา “ชุดประมวลความรู้”หรือ กล่องความรู้กินได้ ซึ่งเป็นสื่อความรู้สร้างอาชีพแบบบูรณาการ เพื่อนำไปต่อยอดและสร้างโอกาสทางอาชีพให้กับประชากรในท้องถิ่นของตน
          นายทศพร กล่าวต่อไปว่า เพื่อเป็นการขยายผลศูนย์ความรู้กินได้อย่างเป็นรูปธรรม สบร. และสำนักงาน กศน. จังหวัดอุบลราชธานีจึงได้ดำเนินการจัดกิจกรรมชุดประมวลความรู้ “ความรู้สร้างอาชีพ” ในเดือนกันยายน 2555 เพื่อนำเสนอแหล่งข้อมูลความรู้ในการประกอบอาชีพแบบบูรณาการ สำหรับการสร้างอาชีพให้กับประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานมหกรรมความรู้ 2555 ตอนคิดเป็นคือโอกาส
          จึงจัดโครงการจัดกิจกรรมเผยแพร่ชุดประมวลความรู้ในงาน “ความรู้สร้างอาชีพ” ซึ่งแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ระยะดังนี้ คือ ระยะที่ 1 จัดอบรมบุคลากรและเตรียมความพร้อมในแหล่งเรียนรู้ ระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคม 2555 จะจัดขึ้น ณ โรงแรมเป็น ตา ฮัก (Pen Ta Hug) ซึ่งในช่วงนี้ การนำเสนอแนวคิด “ศูนย์ความรู้กินได้” และถ่ายทอดองค์ความรู้จากชุดประมวลความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากภาคทฤษฏีสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น
          ส่วนในกิจกรรมระยะที่ 2 จัดกิจกรรมเผยแพร่ชุดประมวลความรู้ ระหว่างวันที่ 22-23 และ 29-30 กันยายน ถึงวันที่ 6-7ตุลาคม 2555 เพื่อสร้างโอกาสให้นักจัดการความรู้ (KP) และบุคลากรแหล่งเรียนรู้ในจังหวัดอุบลราชธานีได้เข้าถึงองค์ความรู้ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ไปประยุกต์ใช้ในการนำความรู้จากภาคทฤษฏีสู่ภาคปฏิบัตินำไปต่อยอดการสร้างอาชีพได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ โดยการจัดกิจกรรมเผยแพร่ชุดประมวลความรู้ (กล่องความรู้กินได้) ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี
          กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือ บุคลากรและนักศึกษา กศน.จังหวัดอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่ห้องสมุดประชาชน จำนวน 25 แห่งในจังหวัดอุบลราชธานี ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ประกอบการในจังหวัดอุบลราชธานี รวมไปถึงประชาชนทั่วไป ทั่งนี้ผู้จัดโครงการได้หวังว่าผู้เข้ารับการอบรมจะมีความรู้ความเข้าใจและสามารถวางแผนจัดกิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์ พร้อมทั้งแนะนำการประกอยอาชีพอย่างถูกต้องและครบถ้วน นายทศพร กล่าวในที่สุด

สวนสัตว์อุบลฯ เตรียมเปิดให้บริการต้นปี 2556

ความคืบหน้าในการจัดสร้างสวนสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ตามธรรมชาติและจัดสร้างส่วนแสดงสัตว์เพิ่มเติม คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ต้นปี 2556
               พลตำรวจเอก ดร.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชย์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ลงพื้นที่สำรวจและประชุมการพัฒนาสวนสัตว์อุบลราชธานี โดยมีนายสุรพล สายพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายพรชัย โควสุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และนายวันชัย ตันวัฒนะ ผู้อำนวยการสวนสัตว์อุบลราชธานี นำชมพื้นที่และร่วมประชุมวางแผนเพื่อพัฒนาเส้นทางสัญจรให้สามารถอำนวยความสะดวกในการรองรับผู้เข้าชมในอนาคต เพื่อจะให้มีความก้าวหน้าเรื่องจะเริ่มดำเนินการขนย้ายสัตว์จะเริ่มนำสัตว์เข้าพื้นที่ประมาณเดือนกันยายน 2555 โดย จำแนกสัตว์เป็น 4 ประเภท คือ. สัตว์กีบไทย  สัตว์กีบต่างประเทศ  สัตว์แอฟริกา และ  สัตว์นักล่า
               สำหรับขณะนี้จัดสร้างส่วนแสดงสัตว์เพิ่มเติมแล้วเสร็จ 8 ส่วนแสดง คือ ส่วนแสดงเสือโคร่ง,เสือขาว, สิงโต, เสือดำ-เสือดาว, เสือจากกัวร์, สัตว์กีบไทย , สัตว์กีบต่างประเทศ และสัตว์แอฟริกา มีการจัดทำซุ้มประตูและรั้วล้อมรอบ ปรับปรุงพื้นที่ภายในรูปแบบอนุรักษ์ธรรมชาติ กรีนซู (Green Zoo ) เพื่อให้เป็นสวนสัตว์แนวจังเกิ้ลปาร์ค (jungle park) และจะเริ่มเปิดทดลองให้เข้าชมช่วงต้นปี 2556

อุทยานแห่งชาติขึ้นค่าเข้าชม 33 แห่ง คนไทย ผู้ใหญ่ 100.- เด็ก 50.- บาท


 เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายดำรงค์ พิเดช อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ลงนามในประกาศกรมอุทยานฯ เรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลเข้าไปในอุทยานฯ จำนวน 33 แห่ง โดยประกาศดังกล่าวระบุว่าด้วยกรมอุทยานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานฯ หลายแห่ง มีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวจำนวนมาก จนอาจนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้ยากแก่การฟื้นฟูและบริหารจัดการให้คงสภาพ ประกอบกับได้ดำเนินการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก การให้บริการ และการให้ความรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยว การรักษาความปลอดภัย การรักษาความสะอาดและสุขภาพอนามัย อีกทั้งมีอุทยานฯ ประกาศจัดตั้งใหม่ 4 แห่ง คือ อุทยานฯเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อุทยานฯเขาค้อ อุทยานฯขุนขาน และอุทยานฯดอยภูนาง จึงได้กำหนดอัตราค่าบริการสำหรับบุคคลเข้าไปในอุทยานฯ คือ ชาวไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 500 บาท เด็ก 300 บาท
               สำหรับอุทยานฯ จำนวน  33 แห่ง ที่มีการปรับอัตราค่าบริการใหม่ ประกอบด้วย ภาคเหนือ 8 แห่ง ได้แก่ 1. อุทยานฯ แจ้ซ้อน จ.ลำปาง 2.อุทยานฯ ผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่ 3.อุทยานฯ สุเทพ-ปุย จ.เชียงใหม่ 4.อุทยานฯ อินทนนท์ จ.เชียงใหม่ 5.อุทยานฯ  ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก เพชรบูรณ์ 6.อุทยานฯ น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ 7.อุทยานฯ ภูหินร่องกล้า จ.พิษณุโลก เลย 8.อุทยานฯ ห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ 9. อุทยานฯ เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา 10.อุทยานฯ ผาแต้ม จ.อุบลราชธานี 11.อุทยานฯ ภูกระดึง จ.เลย 12.อุทยานฯ ภูเรือ จ.เลย
               ภาคตะวันออก  ได้แก่ 13.อุทยานฯ เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด 14.อุทยานฯ น้ำตกพลิ้ว จ.จันทบุรี 15.อุทยานฯ หมู่เกาะช้าง จ.ตราด ภาคตะวันตก 16.อุทยานฯ แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 17.อุทยานฯ เขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี 18.อุทยานฯ ไทรโยค จ.กาญจนบุรี 19.อุทยานฯ เอราวัณ จ.กาญจนบุรี  ภาคใต้ ได้แก่ 20.อุทยานฯ เขาสก จ.สุราษฎร์ธานี 21.อุทยานฯ ตะรุเตา จ.สตูล 22.อุทยานฯ ธารโบกขรณี จ.กระบี่ 23.อุทยานฯ หมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ 24.อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา 25.อุทยานฯ หมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา 26.อุทยานฯ หมู่เกาะอ่างทอง จ.สุราษฎร์ธานี 27.อุทยานฯ หาดเจ้าไหม จ.ตรัง 28. อุทยานฯ หาดนพรัตน์ จ.กระบี่ 29.อุทยานฯ อ่าวพังงา จ.พังงา
               ในส่วนอุทยานฯ 4 แห่งที่จัดตั้งขึ้นใหม่ คือ 30. อุทยานฯ ขุนขาน จ.เชียงใหม่ 31.อุทยานฯ เข้าค้อ จ.เพชรบูรณ์ 32.อุทยานฯ ดอยภูนาง จ.พะเยา  และ อุทยานฯ  เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน จ.ราชบุรี คิดอัตราค่าบริการสำหรับผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท  โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. เป็นต้นไป ทั้งนี้สำหรับอัตราค่าบริการเข้าอุทยานฯ ปัจจุบันนั้น สำหรับชาวไทย ผู้ใหญ่ ราคา 40 บาท เด็ก 20 บาท ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเข้าฟรี  ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 400 บาท เด็ก 200 บาท
               ขณะที่นายดำรงค์  ให้สัมภาษณ์ ว่า ราคาค่าเข้าอุทยานฯ ที่ปรับขึ้นมานั้น จะดำเนินการเฉพาะในอุทยานฯ ขนาดใหญ่ และอุทยานทางทะเลเท่านั้น เช่น อุทยานฯ เขาใหญ่ อุทยานฯ ห้วยน้ำดัง อุทยานฯ สิมิลัน เป็นต้น จำนวน 33 อุทยานฯ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามหากมีเสียงคัดค้านกันมามากเพราะคิดว่าราคาดังกล่าวสูงเกินไปก็จะต้องมาพิจารณาถึงเหตุผลกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหลักการจ่ายเงินค่าเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานฯ คือการเสียสละเงินส่วนหนึ่งเพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยส่วนตัวถือเป็นการทำนุบำรุงทรัพยากรไว้วิธีการหนึ่ง
               นายวิทยา หงส์เวียงจันทร์  ผอ. สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานฯ   กล่าวว่า การที่ปรับราคาเพราะไม่มีการปรับราคามาหลายสิบปีแล้ว เวลานี้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆก็มีราคาสูงขึ้น เงินที่เก็บได้ในปัจจุบันก็ไม่เพียงพอกับค่าบำรุงรักษา อัตรา 100 บาท คำนวณจาก ขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวในแต่ละอุทยานฯ ว่าได้เท่าไร  ค่าบำรุงรักษาเท่าไร เมื่อคำนวณออกมา จะอยู่ที่ราคา 100 บาท สำหรับผู้ใหญ่ และราคา 50 บาท สำหรับเด็ก ทั้งนี้ในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นทวีปยุโรป หรือแม้กระทั่งประเทศกัมพูชา ก็มีราคาประมาณนี้และสูงกว่านี้ทั้งนั้น โดยเฉพาะที่กัมพูชา ค่าเข้าในอุทยานฯ คิดหัวละ 30 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 900 บาท ในอเมริกา และยุโรป ก็มีอัตราค่าเข้าสูงกว่าอุทยานในประเทศไทยมาก
               เมื่อถามว่าจะทำให้อัตรานักท่องเที่ยวจะลดลงหรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า ไม่น่าจะลดลง แต่ในสถิติที่เก็บมาทั้งปี พบว่า ทุกอุทยานฯ ในประเทศไทยมีปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งนี้จะขึ้นราคาเฉพาะอุทยานฯ ขนาดใหญ่เท่านั้น อุทยานฯ เล็กๆ ยังราคาเท่าเดิม ปกติกรมอุทยานฯ จะมีงบประมาณให้อุทยานฯ แต่ละที่ อุทยานฯ ละประมาณ 10 ล้านบาท แต่เงินจำนวนดังกล่าวต้องแบ่งไปใช้สำหรับดูแลเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนป่า การดูแลทรัพยากรในพื้นที่ ซึ่งเหลือเงินไม่เพียงพอต่อการดูแลอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย แต่ละอุทยานฯ ที่มีราคาค่อนข้างสูง ทั้งนี้ราคาค่าเข้าอุทยานฯที่เพิ่มขึ้นจะนำไปบริหารจัดการให้ความสะดวกกับนักท่องเที่ยวมากขึ้น คาดว่ารายได้เฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นจาก 300 ล้านบาท เป็น 500 ล้านบาท.

อ.ก.พ.ร. ติดตามผลการดำเนินงานระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า


 อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาปฏิบัติการราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ติดตามผลการดำเนินงานระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
          เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีโพธิ์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล ประธานคณะกรรมการ Care Team โรคซึมเศร้า คณะกรรมการ Care Team ชุมชน คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า ร่วมต้อนรับคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาปฏิบัติการราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน และคณะกรรมการตรวจประเมินรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards) ประจำปี 2555 ซึ่งโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ได้ส่งผลงานระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัดที่เป็นนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยมีการค้นหาคัดกรองด้วย 2Q การประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q และประเมินการฆ่าตัวตายด้วย 8Q

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบด้านสุขภาพ 
          โรคซึมเศร้า (Depressive disorders) ไม่ใช่อารมณ์เบื่อ เซ็ง ท้อแท้ หดหู่ เศร้า เหงา ทั่วไป ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน แต่เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อกิจกรรมประจำวันทั้งการกิน นอน สัมพันธภาพกับผู้อื่น ความรู้สึกนึกคิดต่อตนเอง และผู้ป่วยจะไม่สามารถทำงานและปฏิบัติกิจกรรมได้เท่าที่เคยทำตามปกติ ปริมาณงานลดน้อยลง รายที่มีอาการรุนแรงอาจจะไม่สามารถทำงานได้เลย จะเป็นภาระของผู้ดูแลอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเรื้อรังเป็นปี และกลับซ้ำได้บ่อย ส่งผลทำให้มีปัญหาชีวิต ครอบครัว การปรับตัวทางสังคม
          โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และก่อให้เกิดความสูญเสียที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียด้านสุขภาพของประชากรโลกเป็นเท่าตัว เป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับประเทศไทย พบว่า โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียปีสุขภาวะมากเป็นอันดับ 4 ในหญิงไทย และอันดับ 10 ในชายไทย
          คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคนี้จำนวนมากแต่ไม่ตระหนักและไม่ได้รับการรักษา มีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการน้อยมาก ใน 100 คนจะเข้าถึงบริการได้รับการรักษาเพียง 3 คนเท่านั้นเอง
          ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรงจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า
ผลการพัฒนา
          ได้ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัดที่ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ไทย
          ได้นวัตกรรมการค้นหาผู้ป่วย เริ่มจากการค้นหาผู้ที่มีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ด้วยการคัดกรองในประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง ที่สั้น ง่าย คือ “แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2Q”
          มีนวัตกรรมการส่งเสริมเพื่อป้องกันการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสำหรับประชาชนทั่วไป ได้แก่     1) ละครวิทยุชุด 6 เรื่อง 2) สปอตวิทยุ 4 เรื่อง 3) เสียงเพลง 5 เพลง 5) สารคดีสั้น ชีวิตและธรรมชาติ 6) ภาพยนตร์สั้น  7) หนังสือการ์ตูน 8) รายการวิทยุ
          ได้นวตกรรมการประเมินอาการโรคซึมเศร้า “แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q” ที่จำแนกความรุนแรงของอาการโรคซึมเศร้าออกเป็น 3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และรุนแรง
          ได้นวัตกรรมการวินิจฉัยโรคและบำบัดรักษา จัดทำ “แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ” สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ประกอบด้วยการวินิจฉัยโรค จำแนกระดับความรุนแรงของ 9Q และการรักษาด้วยยา
          ได้นวัตกรรมการรายงานและประเมินผล “โปรแกรมระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด” การรายงานทาง web application ที่เชื่อมโยงเข้ากับระบบฐานข้อมูลของทุกพื้นที่
ผลงานตามระบบ
1.    การลดขั้นตอน และระยะเวลาการให้บริการ ลดระยะเวลาการสัมภาษณ์ประวัติ การตรวจสภาพจิต การวินิจฉัยโรคของแพทย์ จากเวลาประมาณ 20-45 นาที เป็นเวลาประมาณ 3-5 นาที
2.    การพัฒนาบุคลากร อบรมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป จำนวน 1,844 คน (เป้าหมาย จำนวน 835 แห่ง)อบรมพยาบาล/นวก./จพง.สาธารณสุข จำนวน 21,210 คน (เป้าหมาย จำนวน 11,838 แห่ง) และอบรม อสม. จำนวน 24,309 คน
3.    ความพึงพอใจในระบบ จากการวิจัยผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป มีความพึงพอใจในระดับมาก อสม. ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป  มีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างสูง
4.    มิติความคุ้มค่า ต้นทุนการดูแลตามระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า 930 บาท/คน ต่ำกว่า 15 เท่า ของการบริการปกติ (14,381 บาท/คน)
5.  การบริการ ผลสัมฤทธิ์ของระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าสู่การเข้าถึงบริการ ปี 2549-2554 ดังนี้
การดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า
ทดสอบระบบ (คน)
การดำเนินการขยายผลทั้งประเทศ (คน)
1 จังหวัด
4 จังหวัด
ปี 2552
ปี 2553
ปี 2554
การคัดกรองด้วย 2Q
240,360
532,106
2,878,921
4,757,843
7,047,760
มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (2Q+ve)
14,501
94,065
1,007,622
1,293,702
2,983,375
มีอาการโรคซึมเศร้า (ประเมินด้วย 9Q)
1,371
11,007
342,591
445,379
651,606
มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย (ประเมินด้วย 8Q)
1,371
11,007
302,624
400,310
447,262
ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและรักษาด้วยยา
995
11,007
70,973
118,540
258,865
ส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์
48
4,850
19,744
26,263
58,473
อาการหายทุเลา (9Q<7 นาน 6 เดือน)
947
7,104
51,256
92,277
200,391
หลังจากหายทุเลาแล้วมีอาการกลับเป็นซ้ำ (9Q<7 นาน 6 เดือน และกลับมา 9Q≥7)
6
21
292
533
576
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตายสำเร็จ
6
0
1
0
2
อัตราการเข้าถึงบริการ
6.05%
(เดิม 1.42%)
6.31
(เดิม 3.7%)
5.05
(เดิม 3.7%)
7.70
18.96
          ในการเดินทางมาครั้งนี้คณะผู้ตรวจฯ ได้รับฟังการนำเสนอผลงานและซักถามข้อสงสัยในการดำเนินงาน ณ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จากนั้นได้ตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่ได้ดำเนินงานตามระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ณ โรงพยาบาลวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ จะมีการประกาศผลหน่วยงานที่ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards) ประจำปี 2555 ในวันที่ 5 กันยายน 2555

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ความคืบหน้าการปลูกบัวเฉลิมพระเกียรติรอบทุ่งศรีเมือง


โครงการรักษ์น้ำ รักษ์คลอง รักษ์ปลา เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมราชกุมาร เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 เทศบาลนครอุบลราชธานี ประจำปี 2555" มีกิจกรรมที่สำคัญ คือ  การปล่อยน้ำเสียออกจากคูน้ำรอบสวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง  นำปลาและสัตว์น้ำไปปล่อยยังแหล่งน้ำที่เป็นเขตอภัยทาน ร่วมกันทำความสะอาดและปล่อยน้ำสะอาดลงสู่คูน้ำรอบสวนสาธารณะทุ่งศรีเมือง เพื่อเป็นการฟื้นฟูแหล่งน้ำ คูคลองฟื้นคืนชีวิตวงจรวัฏจักรของปลาและสัตว์น้ำ ป้องกันน้ำเสีย  และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด คือ เพื่อเป็นการสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกต์พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยทรัพยากรธรรมชาติและประสงค์ให้พสกนิกรได้ตระหนักถึงความสำคัญของต้นไม้่ น้ำ และดิน ส่งเสริมการพัฒนาและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดูลกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน  โดยที่ผ่านมาเทศบาลนครอุบลราชธานี และส่วนราชการ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน กลุ่มพลังมวลชนทุกหมู่เหล่า ประชาชนในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี พร้อมด้วยนักเรียนนักศีกษาทุกสถาบัน  ได้ร่วมกันทำความสะอาดคูน้ำรอบสวนสาธารณะทุ่งศรีเมืองเพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดีแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาทและสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  และได้นำบัวซึ่งเป็นสัญญลักษณ์จังหวัดอุบลราชธานีมาปลูกรอบคลองทุ่งศรีเมืองเพื่อเฉลิมพระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี    ในการนี้  เทศบาลนครอุบลราชธานีในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ มีความปรารถนาที่จะให้ชาวอุบลราชธานีทุกคนได้ทราบความคืบหน้าของโครงการ  จึงได้เก็บภาพเพื่อให้ทราบเป็นระยะๆ

IMG_6149
IMG_6150
IMG_6151
IMG_6152
IMG_6153
IMG_6154
IMG_6156
IMG_6157
IMG_6160
IMG_6162

ตำแหน่งงานว่างในจังหวัดอุบลราชธานี/ต่างจังหวัด 4

ลำดับที่ตำแหน่งบริษัทค่าจ้างหมดเขต
61ผู้จัดการร้านบริษัท จัดหางาน อ.บ.ไทยพาณิชย์ จำกัด8,000+31/8/2555
62พนักงานทั่วไปบริษัท อารดาวัสดุก่อสร้าง จำกัด250/วัน25/9/2555
63ฝ่ายการตลาดบริษัท อารดาวัสดุก่อสร้าง จำกัด250/วัน25/9/2555
64ช่างเชื่อมหจก.บ้านและที่ดินรวมสินไทย250-300/วัน31/8/2555
65ช่างกลึงหจก.บ้านและที่ดินรวมสินไทย250-300/วัน31/8/2555
66เจ้าหน้าที่รับประกันบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด11,50025/8/2555
67เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุบริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด11,50025/8/2555
68พ่อครัวร้านบ้านไวน์6,50025/8/2555
69พนักงานขายร้านราดหน้าฮ่องกง5,50031/8/2555
70แม่บ้านหจก.บ้านและที่ดินรวมสินไทย250-300/วัน31/8/2555
71ช่างตัดขนสัตว์โรงพยาบาลสัตว์วุฒิตรา7,500-10,00031/8/2555
72ช่างถ่ายรูปหจก.โฟโต้ คลิ๊ก240-300/วัน25/8/2555
73พนักงานเสริฟร้านบ้านไวน์6,00025/8/2555
74แม่บ้านทำความสะอาดโรงพยาบาลสัตว์วุฒิตรา7,000-7,50031/8/2555
75พนักงานคอมพิวเตอร์โรงพยาบาลสัตว์วุฒิตรา6,000-8,00031/8/2555
76ผู้ช่วยสัตวแพทย์โรงพยาบาลสัตว์วุฒิตรา6,000-9,00031/8/2555
77ช่างทั่วไปหจก.บ้านและที่ดินรวมสินไทย250-300/วัน31/8/2555
78บัญชีบริษัท ก่าน เวย เทคโนโลยี จำกัด8,000-12,00031/8/2555
79ผู้ช่วยผู้จัดการนายยงยุทธ จงสุวัฒน์ (ร้านตำมั่ว)8,00031/8/2555
80ซุปเปอร์ไวเซอร์/แคชเชียร์นายยงยุทธ จงสุวัฒน์ (ร้านตำมั่ว)7,00031/8/2555

ตำแหน่งงานว่างในจังหวัดอุบลราชธานี/ต่างจังหวัด3


ลำดับที่ตำแหน่งบริษัทค่าจ้างหมดเขต
41AEVANหจก. ทีซีดับบลิว เทเลคอม6,00025/9/2555
42พนักงานบัญชีบ.เอสทีแอคเคาน์ติ้ง แอนด์ แมนเนจเมนท์ จำกัด9,00031/8/2555
43ผู้ช่วยกุ๊กบจก.ศรีสมไทย (2003) (โรงแรมศรีสมไทย เฮาส์)4,500+31/8/2555
44แคชเชียร์บจก.ศรีสมไทย (2003) (โรงแรมศรีสมไทย เฮาส์)5,000+31/8/2555
45ช่างซ่อมบำรุงบจก.ศรีสมไทย (2003) (โรงแรมศรีสมไทย เฮาส์)5,500+31/8/2555
46แม่บ้านบจก.ศรีสมไทย (2003) (โรงแรมศรีสมไทย เฮาส์)5,000+31/8/2555
47หัวหน้าคลังสินค้าหจก. ทีซีดับบลิว เทเลคอม8,50025/9/2555
48ธุรการขายหจก. ทีซีดับบลิว เทเลคอม6,50025/9/2555
49พนักงานสต๊อกหจก. ทีซีดับบลิว เทเลคอม6,50025/9/2555
50แม่บ้านหจก.มงคล คาร์เซ็นเตอร์6,00025/9/2555
51ฝ่ายกฎหมายหจก.มงคล คาร์เซ็นเตอร์8,000+25/9/2555
52พนักงานบัญชีหจก.มงคล คาร์เซ็นเตอร์10,00025/9/2555
53พนักงานขายร้านกาแฟหจก.มงคล คาร์เซ็นเตอร์6,000+25/9/2555
54เจ้าหน้าที่เร่งรัดหนี้สินหจก.มงคล คาร์เซ็นเตอร์7,000+25/9/2555
55พนักงานคาร์แคร์หจก.สหบริการอุบล6,50015/9/2555
56จัดเรียงสินค้าหจก. ทีซีดับบลิว เทเลคอม6,00025/9/2555
57คนสวนบจก.ศรีสมไทย (2003) (โรงแรมศรีสมไทย เฮาส์)5,500+31/8/2555
58ฝ่ายขายปลีกบริษัท อารดาวัสดุก่อสร้าง จำกัด250/วัน25/9/2555
59พนักงานบัญชีบริษัท จัดหางาน อ.บ.ไทยพาณิชย์ จำกัด6,000+31/8/2555
60หัวหน้าแคชเชียร์บริษัท จัดหางาน อ.บ.ไทยพาณิชย์ จำกัด6,000+31/8/2555