วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

การศึกษาลักษณะการขยายตัวเติบโตของระบบเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กระทรวงมหาดไทย เอื้อเฟื้อข้อมูล
การศึกษาลักษณะการขยายตัวเติบโตของระบบเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับแนวโน้มการขยายตัวของเมือง โครงการพัฒนาภาครัฐ การลงทุนของเอกชนศักยภาพและความพร้อมของเมือง ขนาดและบทบาท แบ่งออกเป็น 4 ลำดับ ดังนี้

เมืองลำดับ 1 เป็นเมืองขนาดใหญ่ มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางหลักของภาค ขอบเขตการให้บริการระหว่างจังหวัดในระดับภาคและระหว่างภาค มีความเชื่อมโยงกับกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นศูนย์กลางหลักของประเทศ ได้แก่
เมืองขอนแก่น เมืองนครราชสีมา เมืองอุดรธานี เมืองอุบลราชธานี เมืองมุกดาหาร

เมือง ลำดับ 2 เป็นเมืองขนาดใหญ่รองรับเมืองลำดับ 1 มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางให้บริการระดับรองของภาค มีบทบาทเป็นศูนย์กลางบริหารราชการระดับจังหวัดขนาดใหญ่ เป็นแหล่งงานด้านอุตสาหกรรมและการบริการได้แก่
เมืองมหาสารคาม เมืองนครพนม เมืองบุรีรัมย์ เมืองหนองคาย เมืองสกลนคร เมืองสุรินทร์ เมืองร้อยเอ็ด เมืองปากช่อง เมืองชุมแพ เมืองวารินชำราบ

เมือง ลำดับที่ 3 เป็นเมืองศูนย์กลางระดับอำเภอ ที่มีศักยภาพในการให้บริการระหว่างอำเภอภายในจังหวัด หรือในอำเภอในจังหวัดใกล้เคียง หากได้รับการส่งเสริมพัฒนาการลงทุนจะเป็นเมืองที่มีการขยายตัวได้เร็ว ได้แก่
เมืองศรีสะเกษ เมืองเลย เมืองกาฬสินธุ์ เมืองหนองบัวลำภู เมืองยโสธร เมืองชัยภูมิ เมืองอุบล เมืองนางรอง เมืองอำนาจเจริญ เมืองพล เมืองพิบูลมังสาหาร เมืองหนองบัว เมืองบ้านไผ่ เมืองบัวใหญ่ เมืองท่าบ่อ เมืองธาตุพนม เมืองโชคชัย เมืองสูงเนิน เมืองสีคิ้ว เมืองน้ำพอง

เมือง ลำดับ 4 เป็นเมืองมีศักยภาพในการให้บริการในเขตอิทธิพลไม่ไกลนัก มักเป็นศูนย์กลางระดับอำเภอภายในจังหวัด อาจเป็นเมืองที่มีบทบาทพิเศษ เหมาะที่จะพัฒนาให้บริการเฉพาะ ได้แก่ เมืองที่เหลืออีก 321 แห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น