วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จ พระสังฆราช 3 ครั้ง



วารสารข่าวหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
ฉบับเดือนสิงคม 2555
               สมเด็จพระมาหาวีรวงศ์
 (พิมพ์ ธมฺมธโร) นามเดิม พิมพ์ นามสกุล แสนทวีสุข เกิดวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2440 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา จุลศักราช 1259 ที่บ้านสว่าง อำเภอวารินชำราบ (ปัจจุบันอำเภอสว่างวีรวงศ์) จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ นายทอง มารดาชื่อ นางนวล นามสกุล แสนทวีสุข
               ด้านการศึกษา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้รีบการศึกษาเบื้องต้น โดยการเรียนอักษรสมัย คือเรียนอักษรไทย ที่โรงเรียนวัดบ้านม่วง ตำบลตาลสุม อำเภอพิบูลมังสาหาร (วัดบ้านม่วงโคน อำเภอตาลสุม) เป็นเวลา 2 ปี ได้ย้ายเข้าไปเรียนต่อที่โรงเรียนอุบลวิทยาคมวัดสุปัฏนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จชั้นมูล ข. (เทียบชั้น ม.2 ในปัจจุบัน) ขณะอายุ 14 ปี และเมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้เรียนพระปริยัติธรรม จนสำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี สูงสุดถึงเปรียญธรรม 6 ประโยด สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
               บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2457 อายุ 17 ปี ที่วัดสุปัฏนาราม อำเภอเมือง อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เป็นบรรพชาจารย์
               อุปสมบท วันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2460 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ ณ อุทกุกเขปสีมา (อุโบสถน้ำ) ในล้ำแม่น้ำมูล ที่บ้านโพธิ์ตาก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระราชมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลก(เสน ชิตเสโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีฉายาว่า ธมฺมธโร
               เมื่อปี พ.ศ. 2514 ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งที่ 1) ปี พ.ศ. 2515 ประธานกรรมการคณะธรรมยุต ปี พ.ศ. 2516 เจ้าคณะภาค 9 (ธ) และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (ครั้งที่ 3)
               ด้านการเผยแผ่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้รับยกย่องจากพุทธบริษัทและบรรดาศิษยานุศิษย์ว่าเป็น พระคณาจารย์เอกในทางเทศนา เอาใจใส่เทศนาสั่งสอนศีลธรรมจรรยาแก่ประชาชน จัดการอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนและให้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ โดยพระราชนิยม เป็นกรรมการจัดรายการกระจายเสียงในวันธรรมสวนะ กรมประชาสัมพันธ์จัดให้อุบาสกอุบาสิกา มีประเพณี อุโบสถสามัคคี อบรมให้เกิดศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนา และให้ประพฤติปฏิบัติชอบตามวัตถุประสงค์แห่ง พระศาสนา
               นอกจากนี้ ก็ได้เรียบเรียงหนังสือเกี่ยวกับหลักวิชาการและศีลธรรม เช่น สากลศาสนา ปัณณกเทศนาวิธี มงคลยอดชีวิต โลกานุศาสนี บทสร้างนิสัย และเรื่องอื่นๆ อีกมาก พิมพ์แจกจ่ายและอ่านวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ประชาชนได้อ่านและฟัง ถือปฏิบัติอบรมตนให้เป็นพลเมืองดี และเอาภารธุระในการเผยแพร่ และที่เป็นหนังสือเรื่องต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2517 มีจำนวน 40 เล่ม คือ
1. เจ้าหนี้ของเรา
2.. ลักษณะคนสงบ
3. ศาสนาสากล
4. สมบัติของหัวหน้า
5. บทภาวนา
6. อักษรสาร
7. กั้นร่มพรหม
8. คุณสมบัติของครู
9. ดอกหญ้าทิพย์
10. บทชวนสำนึก
11. โปรดช่วยเตือนข้าพเจ้าด้วย
12. ลิขิตถึงน้อง
13. สุขปฏิปทา
14. เทวาสุรสงคราม
15. กรรมานุภาพ
16. คนงามเพราะแต่ง
17. ระลึกชาติแต่หนหลัง
18. ที่พึ่งของเรา
19. ระเบียบนับถือพระพุทธศาสนา
20. กิริยาศิลปะ
21. แก่นพระศาสนาและอายุพระศาสนา
22. ถิ่นไทยดี
23. ดวงประทีปแก้ว
24. วิถีชีวิตของคน
25. ผีสอนโลก
26. วิถีชีวิตของคน
27. อนามัยแห่งชีวิต
28. อนามัยทางใจ
29. หกนครอิสระ
30. น้ำหนักและหญ้าปากคอก
31. จากปราสาท
32. ตำราดูลักษณะคน
33. องคคุณของบุคคลชั้นนำ
34. มงคลยอดชีวิต
35. โลกานุศาสนี
36. บทสร้างนิสัย
37. ปัณณกเทศนาวิธี
38. สมพรปากท่าน
39. นั่งอยู่ในหัวใจคน
40. ธรรมบรรณาการ
สมณศักดิ์ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ดังนี้
พ.ศ. 2475 พระญาณดิลก
พ.ศ. 2490 พระราชกวี
พ.ศ. 2492 พระเทพโมลี
พ.ศ. 2496 พระธรรมปิฎก
พ.ศ. 2504 พระพรหมมุนี
พ.ศ. 2508 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
               สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) มรณภาพเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 เวลา 06.10 น. สิริอายุ 77 ปี พรรษา 57

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น