วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อ.ก.พ.ร. ติดตามผลการดำเนินงานระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า


 อ.ก.พ.ร. เฉพาะกิจเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาปฏิบัติการราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน ติดตามผลการดำเนินงานระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
          เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555 นพ.ธรณินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระศรีโพธิ์ พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล ประธานคณะกรรมการ Care Team โรคซึมเศร้า คณะกรรมการ Care Team ชุมชน คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคซึมเศร้า ร่วมต้อนรับคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเฉพาะกิจ (อ.ก.พ.ร.) เกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพมาตรฐานและลดขั้นตอนระยะเวลาปฏิบัติการราชการเพื่ออำนวยความสะดวกและตอบสนองความต้องการของประชาชน และคณะกรรมการตรวจประเมินรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards) ประจำปี 2555 ซึ่งโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ได้ส่งผลงานระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัดที่เป็นนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าโดยมีการค้นหาคัดกรองด้วย 2Q การประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q และประเมินการฆ่าตัวตายด้วย 8Q

โรคซึมเศร้า ภัยเงียบด้านสุขภาพ 
          โรคซึมเศร้า (Depressive disorders) ไม่ใช่อารมณ์เบื่อ เซ็ง ท้อแท้ หดหู่ เศร้า เหงา ทั่วไป ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน แต่เป็นภาวะผิดปกติที่เกิดกับร่างกายและจิตใจ ส่งผลต่อกิจกรรมประจำวันทั้งการกิน นอน สัมพันธภาพกับผู้อื่น ความรู้สึกนึกคิดต่อตนเอง และผู้ป่วยจะไม่สามารถทำงานและปฏิบัติกิจกรรมได้เท่าที่เคยทำตามปกติ ปริมาณงานลดน้อยลง รายที่มีอาการรุนแรงอาจจะไม่สามารถทำงานได้เลย จะเป็นภาระของผู้ดูแลอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเรื้อรังเป็นปี และกลับซ้ำได้บ่อย ส่งผลทำให้มีปัญหาชีวิต ครอบครัว การปรับตัวทางสังคม
          โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและในอนาคต โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และก่อให้เกิดความสูญเสียที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2563 โรคซึมเศร้าจะก่อให้เกิดความสูญเสียด้านสุขภาพของประชากรโลกเป็นเท่าตัว เป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด สำหรับประเทศไทย พบว่า โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียปีสุขภาวะมากเป็นอันดับ 4 ในหญิงไทย และอันดับ 10 ในชายไทย
          คนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคนี้จำนวนมากแต่ไม่ตระหนักและไม่ได้รับการรักษา มีคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปป่วยเป็นโรคซึมเศร้าถึง 1.5 ล้านคน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการน้อยมาก ใน 100 คนจะเข้าถึงบริการได้รับการรักษาเพียง 3 คนเท่านั้นเอง
          ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและการฆ่าตัวตาย ผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้ารุนแรงจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนทั่วไปถึง 20 เท่า
ผลการพัฒนา
          ได้ระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัดที่ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ไทย
          ได้นวัตกรรมการค้นหาผู้ป่วย เริ่มจากการค้นหาผู้ที่มีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ด้วยการคัดกรองในประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง ที่สั้น ง่าย คือ “แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2Q”
          มีนวัตกรรมการส่งเสริมเพื่อป้องกันการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าสำหรับประชาชนทั่วไป ได้แก่     1) ละครวิทยุชุด 6 เรื่อง 2) สปอตวิทยุ 4 เรื่อง 3) เสียงเพลง 5 เพลง 5) สารคดีสั้น ชีวิตและธรรมชาติ 6) ภาพยนตร์สั้น  7) หนังสือการ์ตูน 8) รายการวิทยุ
          ได้นวตกรรมการประเมินอาการโรคซึมเศร้า “แบบประเมินโรคซึมเศร้าด้วย 9Q” ที่จำแนกความรุนแรงของอาการโรคซึมเศร้าออกเป็น 3 ระดับ คือ น้อย ปานกลาง และรุนแรง
          ได้นวัตกรรมการวินิจฉัยโรคและบำบัดรักษา จัดทำ “แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ” สำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ประกอบด้วยการวินิจฉัยโรค จำแนกระดับความรุนแรงของ 9Q และการรักษาด้วยยา
          ได้นวัตกรรมการรายงานและประเมินผล “โปรแกรมระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าระดับจังหวัด” การรายงานทาง web application ที่เชื่อมโยงเข้ากับระบบฐานข้อมูลของทุกพื้นที่
ผลงานตามระบบ
1.    การลดขั้นตอน และระยะเวลาการให้บริการ ลดระยะเวลาการสัมภาษณ์ประวัติ การตรวจสภาพจิต การวินิจฉัยโรคของแพทย์ จากเวลาประมาณ 20-45 นาที เป็นเวลาประมาณ 3-5 นาที
2.    การพัฒนาบุคลากร อบรมแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป จำนวน 1,844 คน (เป้าหมาย จำนวน 835 แห่ง)อบรมพยาบาล/นวก./จพง.สาธารณสุข จำนวน 21,210 คน (เป้าหมาย จำนวน 11,838 แห่ง) และอบรม อสม. จำนวน 24,309 คน
3.    ความพึงพอใจในระบบ จากการวิจัยผู้ป่วยและประชาชนทั่วไป มีความพึงพอใจในระดับมาก อสม. ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป  มีความพึงพอใจในระดับค่อนข้างสูง
4.    มิติความคุ้มค่า ต้นทุนการดูแลตามระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า 930 บาท/คน ต่ำกว่า 15 เท่า ของการบริการปกติ (14,381 บาท/คน)
5.  การบริการ ผลสัมฤทธิ์ของระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าสู่การเข้าถึงบริการ ปี 2549-2554 ดังนี้
การดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า
ทดสอบระบบ (คน)
การดำเนินการขยายผลทั้งประเทศ (คน)
1 จังหวัด
4 จังหวัด
ปี 2552
ปี 2553
ปี 2554
การคัดกรองด้วย 2Q
240,360
532,106
2,878,921
4,757,843
7,047,760
มีแนวโน้มป่วยเป็นโรคซึมเศร้า (2Q+ve)
14,501
94,065
1,007,622
1,293,702
2,983,375
มีอาการโรคซึมเศร้า (ประเมินด้วย 9Q)
1,371
11,007
342,591
445,379
651,606
มีแนวโน้มจะฆ่าตัวตาย (ประเมินด้วย 8Q)
1,371
11,007
302,624
400,310
447,262
ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าและรักษาด้วยยา
995
11,007
70,973
118,540
258,865
ส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีจิตแพทย์
48
4,850
19,744
26,263
58,473
อาการหายทุเลา (9Q<7 นาน 6 เดือน)
947
7,104
51,256
92,277
200,391
หลังจากหายทุเลาแล้วมีอาการกลับเป็นซ้ำ (9Q<7 นาน 6 เดือน และกลับมา 9Q≥7)
6
21
292
533
576
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตายสำเร็จ
6
0
1
0
2
อัตราการเข้าถึงบริการ
6.05%
(เดิม 1.42%)
6.31
(เดิม 3.7%)
5.05
(เดิม 3.7%)
7.70
18.96
          ในการเดินทางมาครั้งนี้คณะผู้ตรวจฯ ได้รับฟังการนำเสนอผลงานและซักถามข้อสงสัยในการดำเนินงาน ณ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จากนั้นได้ตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่ได้ดำเนินงานตามระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้า ณ โรงพยาบาลวารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ จะมีการประกาศผลหน่วยงานที่ได้รับรางวัลบริการภาครัฐแห่งชาติ (Thailand Public Service Awards) ประจำปี 2555 ในวันที่ 5 กันยายน 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น