วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เชิญร่วมงานทอฝ้ายเป็นสายบุญจุลกฐิน วัดไชยมงคล ประจำปี 2555

  วัดไชยมงคล ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุบลราชธานี และภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มมวลชนต่างๆ ดำเนินการจัดโครงการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีทอฝ้ายเป็นสายบุญจุลกฐิน เฉลิมฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี ประจำปี 2555 จังหวัดอุบลราชธานีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
  • พื่ออนุรักษ์ สืบทอด ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ที่มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล
  • เพื่อทำนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่อย่างมั่นคง
  • เพื่อเพิ่มพูนความรัก สมัครสมานสามัคคีในหมู่พุทธศาสนิกชนทุกเชื้อชาติ
  • เพื่อให้เด้กและเยาวชน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีนี้สืบต่อไป
               งานมหาบุญจุลกฐินเป็นงานที่ละเอียดอ่อน ต้องอาศัยความร่วมมือจากคนหมู่มากรวมกันเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกระบวนการดำเนินงาน ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่การปลูกฝ้ายเพาะเมล็ด หว่าน เติบโต ออกดอกแก่และสุกพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงระหว่างวันออกพรรษาถึงวันลอยกระทง โดยการรวมใจเก็บดอกฝ้ายที่แก่เต็มที่แล้วยังอยู่ในสมอ แล้วนำเอาดอกฝ้ายสีขาวอันบริสุทธิ์มาอิ้วเพื่อเอาเมล็ดออก จากนั้นนำไปดีดในกระเดียดให้เป็นปุย แล้วทำให้เป็นล้อเข็นให้เป็นเส้นด้าย เปียให้ออกมาเป็นไจ กรอออกมาเป็นเข็ด และฆ่าด้วยน้ำข้าว นำไปตากแดดให้แห้ง นำไปใส่อักปั่นเป็นเส้นด้ายเพื่อใส่ในกระสวย แล้วทอมือด้วยฟืมให้เป็นผ้า นำมาตัดเย็บย้อมให้เป็นจีวร เป็นขันธ์ เป็นกระทง จึงนำขึ้นน้อมถวายเป็นผ้าจุลกฐินอันสมบูรณ์ ทุกกระบวนการจะต้องทำให้แล้วเสร็จภายในเวลา 1 วัน เท่านั้น โดยมีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
1. กิจกรรม "จากเมล็ดฝ้ายสู่ไตรจีวร" คือขั้นตอนการผลิตผ้าจากปุยฝ้ายสีขาวสะอาดจนสำเร็จเป็นผืนผ้าสำหรับใช้ทอดกฐิน มีทั้งหมด 9 ฐานการเรียนรู้
ฐานการเรียนรู้ทึ่ 1 ปลูกฝ้ายเป็นสายบุญ เป็นขั้นตอนการปลูก บำรุงรักษาต้นฝ้าย
ฐานการเรียนรู้ที่ 2 เก็บฝ้ายเป็นสายธาร เก็บปุยฝ้ายสีขาวออกจากสมอฝ้ายที่แก่
ฐานการเรียนรู้ที่ 3 อิ้ว ดีด ล้อ เข็นฝ้ายสายธารธรรม เป็นการคัดแยกเมล็ด ทำให้เป็นปุยฟู ม้วนให้เป็นหลอด เข็นให้เป็นเส้นฝ้าย
ฐานการเรียนรู้ที่ 4 เปีย ปั่นฝ้ายสายศรัทธา การทำให้เป็นไจ ปั่นใส่หลอดเตรียมใส่กระสวย
ฐานการเรียนรู้ที่ 5 กวัก ค้น สืบฝ้ายสายใยบุญ การดึงเอาเส้นด้ายจากกงแล้วนำไปขึงกับเครือไปจนถึงกระบวนการร้อยด้ายยืนเข้ารูเขาสอดด้ายยืนกับรูฟืม
ฐานการเรียนรู้ที่ 6 ต่ำหูก ผูกสายธรรม ขั้นตอนการถักทอให้เป็นผืนผ้า
ฐานการเรียนรู้ที่ 7 ตัดเย็บ เก็บสายใย ขั้นตอนการตัดเย็บให้เป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่ง คือ สบง จีวร หรือสังฆาฏิหรือทั้งหมด
ฐานการเรียนรู้ที่ 8 ย้อมด้ายสายพระธรรม ขั้นตอนการนำผ้าสบง จีวร หรือสังฆาฏิ หรือทั้งหมดที่ตัดเย็บเสร็จเรียบร้อยแล้ว นำไปย้อมด้วยสีธรรมชาติ
ฐานการเรียนรู้ที่ 9 มหาบุญจุลกฐิน พิธีทอดกฐิน
2. กิจกรรมถนนสายข้าว (ฮ่วมกันเฮ็ดข้าวหมู่เฮาได้บุญใหญ่) คือกิจกรรมการเรียนรู้การแปรรูปข้าวไปสู่กระบวนการต่างๆ รวมทั้งหมด ๗ ฐานองค์ความรู้
  • ฐานการเรียนรู้เรื่องข้าวต้ม (ฮ่วมกันเฮ้ดข้าวต้มมัด)
  • ฐานการเรียนรู้เรื่องข้าวหลาม (ฮ่วมกันเฮ็ดข้าวหลาม)
  • ฐานการเรียนรู้เรื่องข้าวปุ้น (ฮ่วมกันเฮ็ดข้าวปุ้น (ขนมจีน))
  • ฐานการเรียนรู้เรื่องข้าวจี่ (ฮ่วมกันเฮ็ดข้าวจี่)
  • ฐานการเรียนรู้เรื่องข้าวมธุปายาส (ฮ่วมกันเฮ็ดข้าวมธุปายาส)
  • ฐานการเรียนรู้เรื่องข้าวเม่า (ฮ่วมกันเฮ้ดข้าวเม่า)
  • ฐานการเรียนรู้เรื่องข้าวโป่ง (ฮ่วมกันเฮ็ดข้าวโป่ง)
3. กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน (เบิ่งการละเล่นพื้นบ้านอีสานบ้านเฮา) คือกิจกรรมสาธิตการละเล่นพื้นบ้านที่เคยมีมาในอดีต อาทิเช่น
๑. เล่นกระต่ายขาเดียว๒. รีรีข้าวสาร๓. ขาโถกเถก
๔. ม้าก้านกล้วย๕. เล่นหมากเก็บ๖. เล่นเดินกะลา
๗. การเล่นโยนเบี้ย๘. ปี่น้อยจากกอข้าว๙. การเล่นบั้งโผ
๑๐. ม้าหลังโปก๑๑. เล่นตี่จับ๑๒. เล่นขี่ม้าฟันดาบ
๑๓. การเล่นแมวกินปลาย่าง๑๔. บักกิ้งล้อ๑๕. การละเล่นงูกินหาง
4. กิจกรรมถนนสายอาชีพ (แนวเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน)
  • การทำธูปหอมด้วยวัสดุธรรมชาติ โดยโรงเรียนบ้านนาเลิง
  • กิจกรรมจากเครือข่ายวิทยาลัยอาชีวศึกษา
5. กิจกรรมผู้เฒ่าพาเว้าเหล่านิทาน คือกิจกรรมฟังผู้เฒ่าผู้แก่เล่านิทานพื้นบ้านนิทานธรรมะ นิทานบักเชียงเหมี่ยง นิทานปรำประรา นิทานคติสอนใจ
6. กิจกรรมการแสดงดนตรีพื้นบ้าน
7. กิจกรรมการแสดงดนตรีไทย
8. กิจกรรมการแสดงหมอลำคู่
9. กิจกรรมการแสดงหนังประโมทัย (หนังบักตื้อ)
10. กิจกรรมการแข่งขันประกวดงานประดิษฐ์ใบตอง ประเภท ขันหมากเบ็ง
11. กิจกรรมการแข่งขัน การขับร้องสรภัญญะ
12. กิจกรรมการละเล่นสาธิต "การรำผีฟ้า" ของชุมชนชาวเขมร
13. กิจกรรมการละเล่นสาธิต "การรำผีไท้ผีแถน" จากชุมชนชาวภูไท
14. กิจกรรมการรับฟังพระธรรมเทศนา 3 ธรรมมาสถ์
15. กิจกรรมการตักบาตรพระกัมมัฏฐาน 109 รูป



กำหนดการจัดงาน ทอฝ้ายเป็นสายบุญจุลกฐิน ประจำปี 2555


วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เวลา 08.39 น.พราหมณ์ทำพิธีอัญเชิญเทพเทวาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายเข้าสู่ปริมณฑลพิธีบูชา พรรณา ทำขวัญ อภิเษกต้นฝ้าย ณ ลานปลูกฝ้าย
เวลา 09.09 น.พิธีเปิดงาน "ทอฝ้ายเป็นสายบุญจุลกฐินฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี ประจำปี 2555 จังหวัดอุบลราชธานี"
  • การแสดงรำเอ้ดอกฝ้าย (ณ ลานต้นฝ้าย)
  • ประธาน แขกผู้มีเกียรติ นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ร่วมกันเก็บดอกฝ้าย (นำฝ้ายที่เก็บได้ไปมอบให้ประธานจัดงานที่ฐานการเรียนรู้ที่ 3 เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการผลิตจากเมล็ดฝ้ายสู่ไตรจีวร นำโดยขบวนฟ้อนกลองตุ้ม)
 เวลา 09.39 น.เริ่มกิจกรรมการผลิต "จากเมล็ดฝ้ายสู่ไตรจีวร"
  • ฐานการเรียนรู้จากเมล็ดฝ้ายสู่ไตรจีวร (ทั้ง 9 ฐาน)
  • ฮ่วมกันเฮ็ดข้าวหมู่เฮาได้บุญใหญ่
  • เบิ่งการละเล่นพื้นบ้านอีสานเฮา
  • แนวเฮ็ดอยู่เฮ็ดกิน (ถนนสายอาชีพ)
  • ผู้เฒ่าพาเว้าเหล่านิทาน
  • ชมการแสดงดนตรีพื้นเมืองอีสานจากสถานศึกษาต่างๆ
  • ชมการแสดงดนตรีไทยจากสถานศึกษาต่างๆ
เวลา 16.00-18.30 น.พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา 3 ธรรมาสถ์ เรื่อง "อานิสงส์การสร้างมหาบุญจุลกฐิน"
เวลา 18.00-21.00 น. การแข่งขันประกวดงานประดิษฐ์ใบตอง ประเภท "ขันหมากเบ็ง"
เวลา 19.00-24.00 น. ชมการแสดงหมอลำคู่ การแสดงหนังบักตื้อ การแสดงดนตรีอีสาน
เวลา 21.00-24.00 น. การแข่งขันขับร้องสรภัญญะ
เวลา 00.00-05.00 น. การละเล่นสาธิต "รำผีฟ้า" ของชาวเขมร
การละเล่นสาธิต "รำผีไท้ผีแถน" ของชาวภูไท
เวลา 03.00-05.00 น. เข้าสู่กระบวนการฐานการเรียนรู้ที่ 3 ตัดเย็บ เก็บสายใย ขั้นตอนการตัดเย็บให้เป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่ง คือ สบง จีวร หรือสังฆาฏิ หรือทั้งหมด
เวลา 05.00-07.00 น. เข้าสู่กระบวนการฐานการเรียนรู้ที่ 8 ย้อมด้ายด้วยสายพระธรรม ขั้นตอนการนำ ผ้าสบง จีวร หรือสังฆาฏิ หรือทั้งหมด ที่ตัดเย็บเรียบร้อยแล้วนำไปย้อมด้วยสีธรรมชาติ
วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เวลา 06.30-07.30 น.  พิธีตักบาตรพระกัมมัฎฐาน จำนวน 109 รูป บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเดิม
เวลา 07.30-09.00 น.  ถวายภัตตาหารพระกัมมัฎฐาน จำนวน 109 รูป (ฉันในบาตร)
เวลา 08.00-09.00 น.  ขบวนแห่ผ้ามหาบุญจุลกฐิน "สามเส้นทางธรรมสืบสานวัฒนธรรม"
เวลา 09.30-10.30 น.  เข้าสู่กระบวนการฐานการเรียนรู้ที่ 9 พิธีทอดมหาบุญจุลกฐิน
มอบของที่ระลึกแก่ประธานในพิธีและแขกผู้มีเกียรติ
เวลา 11.00 น.  ถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกาุ - สามเณร
ประธานและแขกผู้มีเกียรติร่วมกันรับประทานอาหาร
เสร็จพิธี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น